ทัศนคติของคนกะเหรี่ยงที่มีต่อภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย (Karen People’s Attitudes towards the Karen and Thai Languages)

Authors

  • ศิริรัตน์ ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

ทัศนคติต่อภาษา, ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาไทย, เทคนิคการพรางเสียงคู่

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ทัศนคติของคนกะเหรี่ยงที่มีต่อภาษากะเหรี่ยงและ ภาษาไทย โดยผู้วิจัยได้นำตัวแปรทางสังคม อันได้แก่ ถิ่นที่อยู่ และอายุเข้ามาพิจารณาด้วย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการพรางเสียงคู่ (matched guise technique) กลุ่มตัวอย่างชาวกะเหรี่ยงจำนวน 125 คน สามารถจำแนกตามถิ่นที่อยู่ ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี (หมู่บ้านเจ้าวัด, หมู่บ้านคลองเสลา, หมู่บ้านอีมาด) และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี (หมู่บ้านกล้วย) และสามารถจำแนกตามรุ่นอายุ 3 รุ่น ได้แก่ อายุน้อย (15-25 ปี) อายุกลาง (35-45 ปี) และรุ่นอายุมาก (55-65 ปี) ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการคำนวณทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย, t-test และ Anova ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า คนกะเหรี่ยงมีทัศนคติในระดับที่ดีมากต่อทั้งภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทยอย่าง ไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกตามตัวแปรทางสังคม อันได้แก่ ถิ่นที่อยู่และอายุของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าคนกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุทัยธานีมีทัศนคติที่ดีต่อภาษา กะเหรี่ยงมากกว่าคนกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทยมากกว่า ความแตกต่างดังกล่าวเป็นความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกตามอายุของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าคนกะเหรี่ยงมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาของตนเองเพิ่มมากขึ้นตามระดับอายุ กล่าวคือ ยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งมีทัศนคติที่ดีต่อภาษากะเหรี่ยงมากขึ้นเท่า นั้น โดยความแตกต่างดังกล่าวเป็นความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ความแตกต่างระหว่างทัศนคติของคนกะเหรี่ยงทั้ง 3 รุ่นอายุที่มีต่อภาษาไทยนั้นเป็นความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติดีมากต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างรุ่นอายุมาก รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างรุ่นอายุน้อย และน้อยที่สุดคือกลุ่มตัวอย่างรุ่นอายุกลาง เมื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทั้งหมด 11 ประการที่สะท้อนจากทัศนคติของคนกะเหรี่ยงต่อผู้พูดภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย พบว่าคนกะเหรี่ยงเห็นพ้องว่าผู้พูดภาษากะเหรี่ยงเป็นคนมีน้ำใจ น่าคบหา ซื่อสัตย์ และขยัน ในขณะที่ผู้พูดภาษาไทยเป็นคนทันสมัย มีการศึกษา และสุภาพ

The purpose of this research is to analyze the attitude of Karen people towards the Karen and the Thai languages. The social factors used in this research are the Karen’s residence area and age. The residence areas studied in this research are Amphoe Ban Rai, Changwat Uthai Thani (Ban Choa Wat, Ban Khlong Salao, Ban E-mat) and Amphoe Dan Chang, Changwat Suphan Buri (Ban Khuai). Informants are divided into 3 age groups: the age group 15-25 years, 35-45 years and 55-65 years. The data were collected from 125 Karen people by matched guise technique. Statistical method, i.e. percentage, T-test and ANOVA were used. The findings show that Karen people have a very positive attitude towards both Karen and Thai languages equally. The results of social-factor analysis show that the Karen people in Changwat Uthai Thani have a positive attitude towards the Karen language more than the Karen people in Changwat Suphan Buri. T-test analysis shows that the attitudes of the Karen people in the two areas towards the languages are different significantly at 0.05 levels. The result of age analysis shows that positive attitudes towards their own language increase with age. In other words the older they are, the more positive attitudes towards Karen they have. The differences among groups are significant at 0.05 levels; meanwhile, the differences of the three age groups’ attitudes towards the Thai language are not insignificant. The oldest, the youngest and the median groups have the most, the second most and the least positive attitudes towards the Thai language respectively. The analysis of 11 attributes reflected by the attitudes of Karen people towards Karen and Thai speakers reveals that all of the informants agree that Karen people are kind, pleasant, honest and diligent whereas Thai people are fashionable, educated and polite.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์ ศ. (2014). ทัศนคติของคนกะเหรี่ยงที่มีต่อภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย (Karen People’s Attitudes towards the Karen and Thai Languages). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 5(1), 137–162. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/98