ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Authors

  • ธรรมรัตน์ สงศรี นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ชูศักดิ์ เอกเพชร รองศาสตราจารย์ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • บรรจง เจริญสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, ประสิทธิผลของโรงเรียน, โรงเรียนขยายโอกาส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 53 คน ครูจำนวน 123 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 151 คน รวมทั้งหมด 327 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล และหลักการบริหารตนเอง ประสิทธิผลของการบริหารงาน โดยรวมและรายด้านมีประสิทธิผลการบริหารงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงานงบประมาณ โดยรวม มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณารายด้าน มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กับด้านการบริหารงานบุคคลสูงที่สุด รองลงมาด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการ และ มีความสัมพันธ์กับด้านการบริหารงานทั่วไปต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

This research is aimed to study the administration and the relationship of school-based management and the effectiveness of opportunity expansion schools under Suratthani Primary Educational Service Area Office 1. The sample used in this research was 327 administrators, teachers, and committees of basic educational schools. The instrument used in data collection was a questionnaire with the reliability of 0.94. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.
The results found that the overall level of the administration using the school based management and effectiveness of opportunity expansion schools under Suratthani Primary Educational Service Area Office 1 were at a high level. When considering each aspect, the level of performance of every item was at a high level, namely the principle of decentralization, participation, checks and balances, and self - administration respectively. The study also revealed that the level of effectiveness of overall administration was high in all aspects including budget administration, personnel administration, general administration and academic administration. The relationship between the administration using school - based management and the effectiveness of opportunity of expansion schools under Suratthani Primary Educational Service Area Office 1 was significantly high at the level of 0.01. The aspect of personnel administration was the highest, followed by budget administration, academic administration and had statistically significant a relationship with the aspect of general administration at the level of 0.01.

Downloads

Published

2016-02-07