ฮวงจุ้ยการตกแต่งร้านของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองหาดใหญ่ (Feng-Shui for Shop Decoration of Chinese Thais in Had Yai City)

Authors

  • ปัญญา เทพสิงห์ Prince of Songkla University

Keywords:

ฮวงจุ้ย, ตกแต่งร้าน, ไทยเชื้อสายจีน, หาดใหญ่,

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาฮวงจุ้ยตกแต่งร้านของชาวไทยเชื้อสายจีนเมืองหาดใหญ่  ในประเด็นที่มาและอิทธิพลที่ส่งผลต่อฮวงจุ้ยร้านค้า รูปแบบการตกแต่งร้านตามแนวฮวงจุ้ย คติความเชื่อเกี่ยวกับ ฮวงจุ้ยและกลไกการปรับตัวตามความเชื่อ โดยเก็บข้อมูลทั้งเอกสาร และลงภาคสนาม เพื่อสอบถาม สัมภาษณ์  สนทนา สังเกตการณ์ บันทึกภาพจากร้านค้าในหาดใหญ่ที่มีความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยจำนวน  300  ร้าน ได้ผลสรุปดังนี้

ฮวงจุ้ยมีที่มาจากคัมภีร์อี้จิงในประเทศจีน ซึ่งกำเนิดขึ้นมากว่า 5000 ปีแล้ว นำมาปรับปรุงเพื่อพยากรณ์หาทำเล การตั้งเมือง การตั้งบ้านเรือน การตั้งสุสาน จนกลายเป็นศาสตร์และศิลป์เฉพาะทาง  เผยแพร่สู่ประเทศไทยและเมืองหาดใหญ่โดยชาวจีนอพยพที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่ช่วงแรกๆ  ชาวจีนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายและอาศัยอยู่ในตึกแถวที่ออกแบบเป็นร้านค้า ฮวงจุ้ยตกแต่งร้านได้สืบทอดต่อมาสู่อนุชนเชื้อสายจีนรุ่นหลังด้วย อิทธิพลที่ส่งผลต่อฮวงจุ้ยคือแนวคิดเรื่องหยินหยาง กฎธรรมชาติ  กระแสชี่  เสือขาวมังกรเขียว  ทิศทั้งแปดและธาตุทั้งห้า

รูปแบบการตกแต่งร้านแนวฮวงจุ้ย ส่วนมากปรากฏอยู่นอกร้านบริเวณด้านหน้าของร้าน โดยมีวัตถุจำพวกกระจกเงา ปากัว  สิงห์คาบดาบ  ธงสามเหลี่ยม เทพเจ้า ตุ๊กตาคำอวยพร ลูกแก้วกระจก กังหันลม ขลุ่ยลม น้ำเต้า กระดิ่งลม ประทัดไม้ โคมจีน สิ่งที่เคลื่อนไหวเป็นวง ต้นไม้  อ่างบัว รูปสัตว์ เฉพาะกระจกเงา  ปากัว  สิงห์คาบดาบพบมากที่สุด นิยมติดกึ่งกลางร้าน ส่วนภายในร้านมีการตกแต่งวัตถุด้วยวัตถุหรือสี  ภาพประดับ  เทพเจ้า และ สิ่งมงคลต่างๆ  จัดตู้  โต๊ะ ชั้นที่มองเห็นอย่างทั่วถึง ทั้งนี้คำนึงถึงความสวยงาม ความเป็นระเบียบ ความสะอาดและการเคลื่อนไหวของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ

คติความเชื่อเกี่ยวกับฮวงจุ้ยพบว่า ส่วนใหญ่เข้าใจเรื่องฮวงจุ้ยปานกลาง เวลามีปัญหามักปรึกษาซินแส แต่เป็นบางเรื่องเท่านั้น และหากได้รับคำแนะนำก็จะปฏิบัติตามบางเรื่องเช่นเดียวกัน เหตุผลที่ยึดถือฮวงจุ้ยดำเนินการค้า คือความหวังที่จะให้ธุรกิจก้าวหน้า โดยเชื่อว่าฮวงจุ้ยดีจะส่งผลให้ลูกค้าเข้าร้านสม่ำเสมอ จึงเน้นความสำคัญที่การตกแต่งหน้าร้าน  การออกแบบจัดวางชั้นหรือตู้แสดงสินค้า  ส่วนเรื่องทำเลส่วนใหญ่พอใจ และเห็นว่าฮวงจุ้ยดีอยู่แล้ว โดยสังเกตจากการเข้าออกของคนสม่ำเสมอ ส่วนที่เห็นว่าไม่ดี เป็นเพราะอยู่ทางแยก  มีศาล วัด ธนาคาร ตึกใหญ่ หรือภูเขาอยู่ตรงข้าม จึงต้องหากลไกปรับตัวให้ ฮวงจุ้ยดี  รวมถึงแสวงหาที่พึ่งพิงจากสภาวะซบเซาทางธุรกิจด้วยวิธีการต่างๆ  การนำแนวทางฮวงจุ้ยมาปฏิบัติมีความคิดเห็นต่างๆ กัน   บางร้านปฏิบัติตามบรรพบุรุษ บางร้านปฏิบัติตามเพราะพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล บางร้านเพราะมีคนมาทัก และเห็นตัวอย่างร้านอื่น บางร้านซึมซับตามกระแสนิยมที่มาแรงในปัจจุบัน ขณะที่บางร้านเลือกปฏิบัติเพียงเล็กน้อย   เพราะเชื่อในการกระทำของคนมากกว่า

 

This research aimed to study the shop geomancy of the Chinese Thais in Hat Yai city. The originality of geomancy, its effects on shop geomancy, patterns of shop decoration according to geomancy principles, enlightenment and believes about geomancy, and ways of modifying and redecorating according to geomancy principles were explored. Research data included both documentation and field surveys. The surveys included questions, interviews, talks, observation and photography of 300 shops decorated according to geomancy principles and their owners in Hat Yai city.

Documentation research reveals that geomancy was originated from Ejing Scripture in China for more than 5000 years ago. It was carried on and applied for finding suitable locations for establishing cities, households and burial chambers. Geomancy had gradually been acknowledged as science and art. The Chinese geomancy has spread into Thailand and Hat Yai city by Chinese migrants in the earlier periods. Most of these Chinese migrants were traders. They lived in tenement houses which were also used as their shops. Geomancy for these Chinese traders’ shops was inherited to the later generations. Geomancy was influenced by the Yin Yang ideology, Natural Rules, Shi Tenor, White Tiger-Green Dragon, Eight Encompasses and the Five Elements.

Shop decoration based on geomancy principles is mostly shown in the front part of the shop, decorated with mirrors, pa-guas, lions with a sword in their mouths, triangular flags, god sculptures, dolls and divine blessings,  hexagonal mirrors, wind wheels, wind flutes, water gourds, wind bells, wooden fire crackers, Chinese lanterns, circulating moving objects, trees, lotus bowls, and animal sculptures.  Mirrors, pa-guas and lions with a sword in their mouths are most often found to be decorated in the middle of the shops. The inner part of the shops was decorated with colored objects, pictures, god sculptures and other auspicious things. Cabinets, tables and shelves are arranged in places that can be seen thoroughly. Decorations are based on principles of beauty, cleanness and ease of movement for their customers.

Regarding belief in geomancy, it was found that most of the shop owners believed in geomancy at a moderate level. When having problems the research subjects reported that they consulted the sinsae (the sage) and did as being advised only in some cases. The reasons they believed in geomancy were hopes for prosperity in their businesses. They believed that with good geomancy their customers would visit their shops regularly so they intended to decorate the front part of the shops to appeal customers. Inside the shops, positions of cabinets, shelves for displaying merchandises are deliberately planned.  Most of the research subjects were content with the geomancy of their shops in terms of the regular number of customers visiting their shops. Some that were not content with their shops geomancy were those who had the shops located at junctions; the shops that were opposite to joss houses, temples, banks, big buildings or mountains. These shop owners were not satisfied with their shops geomancy had to find different strategies in adjusting for good geomancy and supports for their trading, particularly during the time of unhealthy business. Practices and believes in shop geomancy to promote wealthy business vary among research subjects. Some modified or changed shop geomancy when commented or advised; some did so following other shops; some followed the current trends and beliefs in geomancy while some did some minor changes or modifications. They explained that they believed more in human doings than in superstitions.

 

Published

2014-11-28

How to Cite

เทพสิงห์ ป. (2014). ฮวงจุ้ยการตกแต่งร้านของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองหาดใหญ่ (Feng-Shui for Shop Decoration of Chinese Thais in Had Yai City). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 2(2), 77–106. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/107