ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
Abstract
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล เปรียบเทียบประสิทธิผลและปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่1) ผู้บริหารเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีที่รับผิดชอบนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 12 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และ2) บุคลากรที่ปฏิบัติงานตามนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพในเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 200 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (ContentAnalysis) สำหรับ
1บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
2นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
3ดร.สิริวิท อิสโรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
การศึกษาเชิงคุณภาพและใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยในเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มากที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย และการติดตามและประเมินผล ตามลำดับ และในเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มากที่สุด 4 อันดับแรก คือ (1) การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย (2)ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ (3) เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (4)การติดตามและประเมินผล ผลการเปรียบเทียบพบว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย และการติดตามและประเมินผล มีความสอดคล้องกันทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ทั้งนี้ เนื่องจากเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีมีความกว้าง ประกอบกับมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงทำให้การบริการยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมประชาชนในพื้นที่ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการติดตามและประเมินผลของกองทุนฯ รวมถึงการพัฒนากองทุนฯ ให้เกิดประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการวิจัยคือ การเพิ่มวิธีการดำเนินงานและกิจกรรมของกองทุนฯ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมถึงการพัฒนาบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการในเข้ารับบริการ และขยายผลไปสู่การให้บริการแก่ประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่ต่อไป