ปริทัศน์หนังสือ สถานการณ์ภาษาในภาษามาเลเซีย การเลือกใช้ภาษาและภูมิทัศน์ภาษา

Authors

  • นูรูลฮูดา เจะเลาะ

Abstract

หนังสือ สถานการณ์ภาษาในภาษามาเลเซีย: การเลือกใช้ภาษาและภูมิทัศน์ภาษานี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมเนื้อหาจากโครงการวิจัยทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสกว. ซึ่งศาสตราจารย์กิตติคุณดร. อมราประสิทธิ์รัฐสินธุ์เป็นหัวหน้าโครงการชื่อโครงการวิจัย คือ บทบาทที่แข่งขันกันระหว่างภาษาประจำชาติกับภาษาอังกฤษในประเทศกลุ่มอาเซียน: การศึกษาการเลือกภาษาในแวดวงกฎหมาย สื่อ การศึกษา วรรณกรรม และการเมือง  และโครงการวิจัยทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสกว ไม่เพียงแต่มีผลการวิจัยสถานการณ์ภาษาในภาษามาเลเซีย: การเลือกใช้ภาษาและภูมิทัศน์ภาษา แต่ยังมีผลการวิจัย สถานการณ์ภาษาในบรูไนดารุสลาม: ความสมดุลอันสงบงาม และประเทศ: ความเป็นชาติกับการเลือกใช้ภาษา อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละประเทศมีเนื้อหาเรื่องการเลือกใช้ภาษาในแต่ละประเทศจะทำให้เกิดความเข้าใจประเทศของตนเองและประเทศเพื่อนบ้านลึกซึ้งมากขึ้น โดยผู้เขียนได้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ภาษาในแวดวงสำคัญของกลุ่มประเทศอาเซียนและบทสังเคราะห์ที่เป็นแบบจำลองการจัดบทบาทที่พอดีระหว่างภาษาประจำชาติกับภาษาโลก (ภาษาอังกฤษ) ในอันที่จะสร้างความสมดุลแห่งอำนาจของทั้งสองภาษาเพื่อทำให้ประเทศก้าวหน้าไปสู่ระดับโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถดำรงรักษาอัตลักษณ์ของชาติไว้ได้โดยไม่เสื่อมคลาย ทำให้หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีผู้ใดวิจัยในแนวนี้มาก่อน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อวงการวิชาการ โดยสามารถเข้าถึงได้จากผู้ที่สนใจศึกษาในหลายระดับ  รวมทั้งมีประโยชน์ต่อผู้ที่ความสนใจทางด้านภาษากับสังคมเป็นอย่างดี สาระสำคัญของหนังสือครอบคลุมในเรื่องของประเทศมาเลเซียกับการเลือกภาษาประจำชาติที่จะทำให้เกิดเอกภาพของประเทศหรือภาษาอังกฤษซึ่งจะทำให้ประเทศก้าวหน้าและก้าวทันโลก ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกภาษาในประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน โดยมีแบ่งการใช้ภาษาในแวดวงที่สำคัญ 5 แวดวง ได้แก่ แวดวงกฎหมาย การศึกษา วรรณกรรม สื่อ และการเมือง พร้อมทั้งศึกษาภูมิทัศน์ภาษาซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมการเลือกใช้ภาษาในแต่ละแวดวงโดยเห็นภาพอย่างกว้างที่สังเกตได้ทันที ศึกษาการเลือกใช้ภาษาในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละแวดวงว่าจะเลือกใช้ภาษาประจำชาติหรือภาษาอังกฤษ และศึกษาการแปล โดยพิจารณาว่ามีการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติหรือแปลจากภาษาประจำชาติเป็นภาษาอังกฤษหากมีการแปลกรณีแรกมากกว่าก็แสดงว่าภาษาประจำชาติมีความสำคัญมากกว่าภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นกรณีตรงข้ามก็จะแสดงว่าเน้นภาษาอังกฤษมากกว่า

Additional Files

Published

2020-06-30

How to Cite

เจะเลาะ น. . (2020). ปริทัศน์หนังสือ สถานการณ์ภาษาในภาษามาเลเซีย การเลือกใช้ภาษาและภูมิทัศน์ภาษา . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 12(1), 385–404. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1099