จิตสำนึกครูภาค 1 : องค์ประกอบใหม่ของจิตสำนึกครู ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (Teacher Conscience Part 1: New Teacher Conscience Factors of Educational Students in Dhonburi Rajabhat University)
Keywords:
จิตสำนึกครู, นักศึกษาคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีAbstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยรวมวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตสำนึกครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อค้นหาองค์ประกอบใหม่ของจิตสำนึกครู 2) เพื่อหาระดับพฤติกรรมจิตสำนึกครูในภาพรวม 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมจิตสำนึกครู ตามสถานภาพทางเพศ เศรษฐกิจ และครอบครัว 4) เพื่อยืนยัน และปรับปรุง องค์ประกอบใหม่ของจิตสำนึกครู กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ทุก ชั้นปี ได้ 394 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจิตสำนึกครู แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และจัดกลุ่มสนทนาเพื่อยืนยันและปรับปรุงให้เหมาะสม
บทสรุปของการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) องค์ประกอบใหม่ของจิตสำนึกครู ได้แก่ จิตใจครู ประกอบด้วย ความเอื้ออาทร ความเมตตาปรานี และความมีขันติธรรม ปัญญาครู ประกอบด้วย เป็นผู้รอบรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้รอบรู้ด้านการสร้างสรรค์งานวิชาการ ศรัทธาในอาชีพครู ประกอบด้วย รักในอาชีพครู รักษากฎระเบียบวินัยครู ฉลาดใช้จิตวิทยา ประกอบด้วย รอบรู้ด้าน จิตวิทยา สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยา 2) ระดับพฤติกรรมจิตสำนึกครูในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ระดับพฤติกรรมจิตสำนึกครูของนักศึกษาหญิงสูงกว่านักศึกษาชาย และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักศึกษาที่เศรษฐกิจสูงมีระดับพฤติกรรมจิตสำนึกครูสูงกว่านักศึกษาเศรษฐกิจ ต่ำและปานกลาง ตามลำดับ และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกกลุ่ม นักศึกษาที่ครอบครัวบิดามารดาอยู่ด้วยกันมีระดับพฤติกรรมจิตสำนึกครูสูงกว่า นักศึกษาที่ครอบครัวบิดามารดาแยกกันอยู่ และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) องค์ประกอบใหม่ของจิตสำนึกครู ได้รับการยืนยันและปรับปรุงจากการจัดกลุ่มสนทนาแล้ว