โลกนิติจำแลง : การดัดแปลงโคลงโลกนิติ ให้เป็นวรรณคดีคำสอนที่มีลักษณะล้อและเสียดสี (Lokkanit Chamlaeng : An Adaptation of Khlong Lokkanit to a Mocking Didactic Text)
Keywords:
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, โลกนิติจำแลง, การดัดแปลงโคลงโลกนิติ, วรรณคดีคำสอนที่มีลักษณะล้อและประชดเสียดสี, อารมณ์ขัน, King Rama V, Lokkanit Chamlaeng, an adaptation of Khlong Lokkanit, a mocking didactic text, sense of humor.Abstract
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โลกนิติจำแลงโดยทรงคงตัวอย่างและคำสอนในโคลงโลกนิติไว้ ทรงเปลี่ยนตัวอย่าง เพิ่มตัวอย่าง และเพิ่มคำสอนของพระองค์เองซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเข้าไปด้วย พระองค์ทรงมีวิธีสอน 2 แบบ คือ สอนตรงไปตรงมาและสอนแบบประชดเสียดสีเพื่อมุ่งล้อพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลในสมัยนั้นทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก วรรณคดีเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้คนไทยในสมัยของพระองค์ซึ่งมีวิทยาการก้าวหน้ากว่าสมัยโบราณมีพฤติกรรมที่ดี และมีคุณธรรมเฉกเช่นที่ปรากฏในคำสอนของโคลงโลกนิติ วรรณคดีเรื่องนี้สะท้อนพระปรีชาสามารถของพระองค์ได้ดียิ่งในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีคำสอนที่มีลักษณะล้อและประชดเสียดสีอย่างมีอารมณ์ขันและอย่างมีวรรณศิลป์
King Rama VI composed Lokkanit Chamlaeng by keeping some examples of moral and conduct teaching in Khlong Lokkanit while adding some elements of his own originality. These elements include changing examples, adding new examples, and adding new teaching that coincided with the real situations in his reign. The style of his teaching could be divided into two ways; namely, teaching straightforwardly and teaching in a satirical way to mock the behaviors of some persons or groups of people both in Thai society and in the world at that time. Lokkanit Chamlaeng is the text that clearly reflects King Rama VI’s attempt for his people to have good conduct and morals as having been taught in Khlong Lokkanit. This literary work also well illustrates King Rama VI’s expertise at composing mocking didactic text with sense of humor and literary techniques.