วรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ 7 : การตอบสนองรสนิยมของชนชั้นกลาง (Literary Works in the Reign of King Prachadhipok : The Response of the Middle Class’s Literary Taste)
Keywords:
วรรณกรรม, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7), ชนชั้นกลาง, Literary work, King Prachadhipok (King Rama VII), middle class.Abstract
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณกรรมหลายประเภททั้งนวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ และบทความเป็นงานเขียนที่มีพัฒนาการอย่างสูง หลังจากบ่มเพาะความรู้ในด้านแนวเรื่องหลากหลายและกลวิธีการประพันธ์มาในช่วงสองรัชกาลก่อนหน้านี้ จุดเด่นวรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ 7 คือ การเปลี่ยนจุดมุ่งหมายการแต่งจากวรรณกรรมเริงรมย์ไปสู่วรรณกรรมสะท้อนสังคม อันฉายภาพของวิถีชีวิต ค่านิยม และทัศนคติของคนชั้นกลางที่กำลังมีบทบาทเต็มที่ในการขับเคลื่อนสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมประชาธิปไตย วรรณกรรมในรัชกาลที่ 7ตอบสนองรสนิยมของคนชั้นกลางที่มีการศึกษา และใฝ่ฝันถึงสังคมใหม่ในอนาคต ดังนั้น วรรณกรรมจำนวนไม่น้อยได้ทำหน้าที่สร้างความหฤหรรษ์ทางปัญญาแก่ผู้อ่าน และบุกเบิกแนวทางของวรรณกรรมสัจสังคมนิยม (Social realism) ให้เป็นแนวทางที่โดดเด่นของวรรณกรรมไทยร่วมสมัยมาจนทุกวันนี้
In the reign of King Prachadhipok (King Rama VII), the literary works including novel, short story, poetry and article had high quality after developing the various styles, contents and techniques in the past 2 reigns. The very distinguished characteristic of the literary works in this period was that many writers changed their purpose of writing from the literature for pleasure to the social literature which reflected the way of life, the social value and the social attitude of the middle class people who played the important role in mobilizing Thai society, especially the creation of democratic society. Literature in the reign of King Prachadhipok responsed the literary taste of the middle-class readers who were educated and had a dream for the new society in the future. Thus, many literary works fulfilled the intellectual pleasure to their readers and pioneered the social realistic literatures which become the distinguished literary genre in the present time.