เศรษฐกิจสังคมครัวเรือน และแนวทางการจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน ในพื้นที่หมู่เกาะระ – เกาะพระทอง

Authors

  • สุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเศรษฐกิจสังคมครัวเรือน และศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน ในพื้นที่หมู่เกาะระ – เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยใช้วิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน จำนวน 10 ชุมชน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 54 คน ในช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนสิงหาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป และนำเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนาใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

ชุมชนชายฝั่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก มีระบบสาธารณูปโภคเพียงพอ ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งตามฤดูกาลควบคู่กับอาชีพเกษตรกรรม เครื่องมือประมงที่ใช้เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น สัตว์น้ำที่จับได้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งในการทำประมงชายฝั่ง ส่วนใหญ่เห็นว่าการทำประมงโดยใช้เครื่องมือผิดกฎหมายและการท่องเที่ยวทางทะเลส่งผลกระทบมากต่อชายฝั่ง และเห็นว่าการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบมากต่อชุมชนชายฝั่งทำให้รายได้จากการจับสัตว์น้ำลดลง ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สำหรับแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนของตนเอง พบว่า ชุมชนชายฝั่งควรเป็นผู้ดำเนินการหลักในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มีบทบาท หน้าที่สำคัญในการสนับสนุนและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและมีความยุติธรรม ให้ข้อแนะนำในการปรับตัวของชุมชนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง คำนึงถึงความสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และความต้องการของชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งในท้องถิ่นของตนเอง

 

คำสำคัญ: เศรษฐกิจสังคม การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน หมู่เกาะระ – เกาะพระทอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ABSTRACT

This mixed methods research aimed to study Socio-economic household and communities coastal resource management guideline at Mu Koh Ra - Koh Phra Thong, Kuraburi district, Phang Nga provinces, used rapid rural appraisal of 10 communities and questionnaires to collect data from 54 samples in june to august 2019, data were analyzed using qualitative data analysis and conclusion, and presented a descriptive, using descriptive statistics such as frequency and percentage. The finding are as follows: The coastal local community was recognized as a small community which had adequate infrastructure and done by the fishing gears producing based on their local wisdom knowledge. The most utilization of coastal resources was fishing. The illegal fishing and marine tourism were the most impact in the coastal area. Climate change due to global warming had impact on coastal communities which

 

 

1นักวิจัยประจำศูนย์บริหารงานวิจัยและสนับสนุนวิชาการ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดต่อได้ที่ : rdisps@ku.ac.th

 1Researcher, Research and Academic Support Center, Faculty of Fishery, Kasetsart University email: rdisps@ku.ac.th

2นักวิชาการศึกษาประจำสำนักงานเลขานุการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดต่อได้ที่ : Nuchanard.w@fph.tu.ac.th

 2Educator, Office of the Secretary, Faculty of Public Health, Thammasat University email: Nuchanard.w@fph.tu.ac.th

 

made income from the fishery decline. The most members were grouping as resources conservation and environmental community groups. Concerning to the coastal resources’ conservation, the fishermen suggested that local people in their village and staffs of the government offices must be collaborated in planning and managing on utilizing of local natural resources. In addition, the government offices that related to coastal resources must be strict in law enforcement, give recommendations for community adaptation to keep up with changes, taking into account the consistency with history, way of life, traditions, culture and the needs of the community. Encourage communities to participate in local coastal resource management.

 

Keywords: Socio-economic, Coastal community resources management, Mu Koh Ra - Koh Phra Thong

Downloads

Published

2020-12-23

How to Cite

ศรีอินทร์ ส. . (2020). เศรษฐกิจสังคมครัวเรือน และแนวทางการจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน ในพื้นที่หมู่เกาะระ – เกาะพระทอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 12(2), 113–127. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1114