การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับมัธยมปลายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนรวมถึงการเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมปลายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการบริหาร ผู้ที่มีหน้าที่บริหารหลักสูตรได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ซึ่งโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างมีการจัดการเรียนการสอนอย่างมีระบบตามแบบแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักสูตรภาษาจีนเท่าที่ควรอีกทั้งผู้บริหารยังไม่มีความเข้าใจในตัวหลักสูตรอย่างถ่องแท้ 2) ด้านหลักสูตร รายวิชาที่เปิดสอนและชั่วโมงที่เปิดสอนแต่ละรายวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนั้นเป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางที่ สพฐ. กำหนด และหลักสูตรยังส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมนอกการเรียนการสอนควบคู่กับการเรียนในชั้นเรียนอีกด้วย แต่หลักสูตรภาษาจีนยังคงขาดความเชื่อมโยงกับมัธยมต้นและเนื้อหาที่ผู้สอนนำมาสอนยังไม่มีความทันสมัย 3) ด้านสื่อการเรียนการสอนพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีใช้หนังสือ 体验汉语1-2-3 แต่อย่างไรก็ตามโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างยังไม่มีความพร้อมในด้านสื่อการเรียนการสอนเสริม ซึ่งเห็นได้จากการขาดแคลนสื่ออิเล็กทรอนิคส์ รวมถึงสื่อการเรียนการสอนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการทางภาษาจีน และหนังสือเสริมความรู้ภาษาจีนในห้องสมุด 4) ด้านผู้สอนพบว่า มีผู้สอนชาวไทยจำนวน 15 คน และผู้สอนอาสาสมัครชาวจีนจำนวน 4 คน ซึ่งผู้สอนมีภาระหน้าที่นอกจากการสอนค่อนข้างมากทำให้ไม่มีเวลาสอนที่เพียงพอ อีกทั้งผู้สอนส่วนใหญ่ยังมีประสบการณ์ด้านการสอนน้อยและยังต้องพึ่งพาครูอาสาสมัครชาวจีน 5) ด้านผู้เรียน มีนักเรียนที่กำลังเรียนภาษาจีนในปีการศึกษา 2561 รวม 514 คน โดยแบ่งเป็นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4 จำนวน 174 คน มัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 5 จำนวน 174 และมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 จำนวน 166 คน จากแบบสอบถามด้านปัญหาของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนจำนวนต่อห้องมากเกินไปทำให้ผู้สอนดูแลไม่ทั่วถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนภาษาจีนค่อนข้างน้อย
คำสำคัญ : สภาพปัจจุบัน ปัญหา การเรียนการสอนภาษาจีน มัธยมปลาย สุราษฎร์ธานี
ABSTRACT
The purpose of this research was to study into the current condition and the problem related to the instruction of the Chinese Language, as well as to present the policy recommendation for the development of Chinese Language instruction at High School Education level in Surat Thani province.
The finding shows that 1) On the management, it was found that the key person to be responsible to perform duty as the administrator, deputy director of the Academic Department, and head of the Foreign Language Division. The study also revealed that the schools are still facing the problems related to the instruction system which is not efficient. There also should be the preparation for training on the knowledge in management for those concerned so that such people would be informed of the work plan and management system. 2) On curriculum it was found that, the subjects opened at the High School Education level including the hourly period of each subject were under the central curriculum as specified by the Office of the Basic Education Commission. Besides, there should be an improvement of the curriculum to be up-to-date to keep up with the current situation as much as possible so as to develop four skills of the Chinese Language for students efficiently. 3) On instruction media it was found that most schools are using TIYANHANYU 1-2-3’s book. But from research can be seen a lack of electronic media and other instruction media including workshop room for the Chinese Language and supplementary books related to the Chinese Language provided in the library. 4) On teacher it was found that, Thai’s Chinese teachers are 15 person , volunteer Chinese teachers are 4 persons. So, the researcher found that these teachers lack of experiences in teaching and rely on the volunteer Chinese .Also, there should be fund provided for the people who intend to continue the study in higher level; this is to develop quality and improve efficiency of the teachers.5) On students it was found that, from the survey into the students’ information from 4 schools, there are 514 students divided into 174 students of 10th grade 174 students of 11th grade, and 166 students of 12th grade According to the questionnaire related to the students’ problem, it was found that there are too many students per room that make it hard for the teacher to reach to; and there is a lack of environment to learn the Chinese Language
Key word : current condition, problems, Chinese teaching, high school
Education, Surat thani