แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ภาษาสะกอมของคน 3 กลุ่มอายุ

Authors

  • ภารตี เบ็นหรีม

Abstract

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมของคน 3 กลุ่มอายุในพื้นที่ตำบลสะกอม และเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมระหว่างผู้บอกภาษาต่างวัยและต่างเพศในพื้นที่ดังกล่าว โดยเสนอผลการค้นคว้าในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์และสถิติเชิงพรรณนา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลคำศัพท์ภาษาสะกอมภาค

 

 

 

 

 

 

สนาม ใช้หน่วยอรรถจำนวน 140 หน่วยอรรถ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ กลุ่มอายุ 15-25 ปี กลุ่มอายุ 35-45 ปี และกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป มีจุดเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 13 จุด ใช้ผู้บอกภาษากลุ่มอายุละ 2 คน ต่อ 1 จุดเก็บข้อมูล รวมผู้บอกภาษาทั้งสิ้นจำนวน 78 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป ใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมมากที่สุด และผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปี ใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมน้อยที่สุด 2) ผู้บอกภาษาเพศหญิงมีการใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมสูงกว่าผู้บอกภาษาเพศชาย 3) ผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปี ใช้คำศัพท์เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด โดยใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมน้อยที่สุดในหมวดคำเกี่ยวกับสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึกและคุณค่า และใช้คำศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุดในหมวดคำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคล ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปี มีการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์มากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มว่าการใช้คำศัพท์ภาษาสะกอมจะถูกแทนที่ด้วยคำศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากขึ้น

คำสำคัญ  : การใช้คำศัพท์, ภาษาสะกอม, ปัจจัยอายุ, ปัจจัยเพศ

 

Abstract

The objectives of this research is to study using vocabulary of Sakom dialect spoken by three generations of people in Sakom subdistrict and to compare using Sakom dialect between different age and gender informants in the area by presenting the research results in descriptive analysis and descriptive statistics forms. The researcher collected data about Sakom language in fieldwork by using 140 semantic units, The sample is divided into three generations of people, the first aged 15-25 years old, the second aged 35-45 years old, and the third aged 55 years and older. There are totally thirteen data collection points. The researcher used two informants per age group per one data collection point. The total of informants is seventy-eight. The research found that 1) Informants age 55 years old and older use the most Sakom language vocabulary and Informants age 15-25 years old use the least. 2) Female informants have used Sakom language more than male informants. Informants age 15-25 years old have changed using the most vocabulary by using least of Sakom vocabulary in word category about intelligence, emotions and values, and they have used standard Thai language in word category about human relations the most. The research result pointed out that informants aged 15-25 years has changed using the most vocabulary that using Sakom language tent to be replaced by more standard Thai vocabulary.

Keywords: vocabulary usage, Sakom dialect, age variable, gender variable

Downloads

Published

2020-12-23

How to Cite

เบ็นหรีม ภ. . . (2020). แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ภาษาสะกอมของคน 3 กลุ่มอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 12(2), 34–58. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1119