วรรณกรรมท้องถิ่นตามแนวลำน้ำตาปี (The Folk Literature along the Line of Tapee River)

Authors

  • ปริญญา ปานชาวนา Faculty of Education Suratthani Rajabhat University.

Keywords:

วรรณกรรมท้องถิ่น, วรรณกรรมมุขปาฐะ, แม่น้ำตาปี, Folk literature, Oral literature, Tapee river.

Abstract

การศึกษา “วรรณกรรมท้องถิ่นตามแนวลำน้ำตาปี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม และเพื่อรวบรวมวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นตามแนวลำน้ำตาปี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายที่แม่น้ำตาปีไหลผ่าน 7 ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันในด้านสภาพภูมิศาสตร์ทางกายภาพ  ประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม วรรณกรรมมุขปาฐะที่ยังคงปรากฏอยู่ในพื้นที่มีตำนาน 7 เรื่อง นิทาน 60 เรื่อง และเพลงกล่อมเด็ก 259 เพลง วรรณกรรมดังกล่าวมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี คุณค่าด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และคุณค่าด้านภาษา มีความสัมพันธ์กับชุมชนในฐานะเป็นเครื่องมือบันทึกภาพสังคม การพัฒนาระบบความคิด การสร้างทัศนคติ ค่านิยม และศีลธรรม ในฐานะที่เป็นเครื่องบันเทิงใจ ความสัมพันธ์กับชุมชนในด้านความเชื่อและพิธีกรรม และความสัมพันธ์กับชุมชนในฐานะเป็นส่วนที่ให้การศึกษานอกรูปแบบแก่สังคม

The objectives of study of folk literature were: to study the context of community in geography, history and cultural society and to collect and analyze the folk literature along the line of Tapee river. The methodology of this study was a qualitative research by a relevant documentary study and by taking a fieldwork to collect data in a field of purposed community’s areas whereas the Tapee river flowed through seven communities.

The results of this study were founded that such community had jointly character in side of a state of physical geography, history and cultural society. Oral literature which appeared in a field consisted of 7 legends, 60 stories and 259 lullabies for children. Such literature had a value in side of history, archaeology, society, economic and culture and the value in side of language had related with community as a tool to record a society’s picture, the development of conceptual system, establishment of attitude, value and moral as a happy things. The relation whit community in side of faith and ceremony and the relation with community as a past which give a informal education  to society.

Downloads

Published

2014-12-15

How to Cite

ปานชาวนา ป. (2014). วรรณกรรมท้องถิ่นตามแนวลำน้ำตาปี (The Folk Literature along the Line of Tapee River). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 6(1), 101–130. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/112