ตะวันออกในตะวันตก – การรับพุทธศาสนาในวรรณกรรม และดนตรีเยอรมันช่วงต้นยุคสมัยใหม่ (Orient in Occident – On the Reception of Buddhism in German Literature and Music in the Early Modern Age)

Authors

  • พรสรรค์ วัฒนางกูร Faculty of Arts Chulalongkorn University.

Keywords:

การรับพุทธศาสนาในวรรณคดีและดนตรีเยอรมันยุคต้นสมัยใหม่, reception of Buddhism in German literature and music in the Early Modern Age.

Abstract

เอเชียและยุโรปมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมานานมิใช่เฉพาะในแง่ประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นปฏิสัมพัทธ์ในด้านวิทยาศาสตร์และโดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมด้วย ยุโรปได้รับเอาแนวคิดที่มีต้นตอมาจากเอเชียหลายอย่าง ในช่วงปลายต้นสมัยใหม่คือ ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ      ที่ 19 ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นช่วงระยะที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในบรรยากาศของ “ความเสื่อมสลาย” (fin de siècle) พุทธศาสนาดูจะมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมยุโรปอย่างมีนัยสำคัญไม่มากก็น้อย  บรรดาปราชญ์และศิลปินชาวยุโรปจำนวนมากหันมาสนใจแนวคิดศาสนาจากตะวันออก และพุทธศาสนาได้กลายเป็นความหวังใหม่ของชาวยุโรปจำนวนไม่น้อย ปรากฏการณ์นี้ทำให้เรานึกถึงการโต้เถียงอภิปรายเรื่องศาสนาในทวีปยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่13 เมื่อชาวยุโรปเริ่มรู้จักพุทธศาสนาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก รวมถึงความเคลื่อนไหวระหว่างสมัยโรแมนติกที่มีการศึกษาภาษาสันสกฤตอย่างจริงจังโดยปราชญ์ชาวยุโรป ในยุคโรแมนติก อินเดียได้รับการยกย่องอย่างมาก โดยเฉพาะวัฒนธรรมอินเดีย ปรากฏการณ์นี้นำไปสู่ความสนใจในศาสนาตลอดจนแนวคิดเรื่องศีลธรรมของอินเดียระหว่างยุคต้นสมัยใหม่ในยุโรป ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสามารถพบได้ในงานวรรณกรรมและงานดนตรีของคาร์ล เยลเลอรุพ  ริชาร์ด วากเนอร์  โธมัส มันน์  รายเนอร์ มาเรีย ริลเคอ  แฮร์มันน์ เฮสเซอ หรือแม้แต่ในงานประพันธ์ของแบร์ทอลท์ เบรชคท์ และเอากุส ชตรินแบร์ก เขาทั้งหมดนี้ล้วนได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพุทธของอาทัว โชเปนเฮาเออร์ และฟรีทริช นีทเชอ ทั้งสิ้น

บทความวิจัยชิ้นนี้  พยายามชี้ให้เห็นว่า การทำความเข้าใจผลงานวรรณกรรมและงานประพันธ์ดนตรีของนักประพันธ์และคีตกวีที่กล่าวนามข้างต้น นำไปสู่ความเข้าใจยุโรปและวัฒนธรรมยุโรป และอาจเป็นคำตอบว่า เหตุใด ชาวเยอรมันจึงสนใจพุทธศาสนามากกว่าชาวยุโรปชาติอื่น

Asia and Europe are connected not only historically, but scientifically and culturally. Europe received many original ideas from Asia. At the turn of the 19th century to the 20th century, Buddhist philosophy seemed to interact with European culture. A great number of European intellectuals were part of fin de siè-cle, caught in the atmosphere of a decadent world in the context of the coming Modern Age. Buddhism happened to be one of their new hopes. The movement - reminding us of the religious debates in the 13th century, when Europe became aware of Buddhism, also of the studies of Sanskrit and the apotheosis of India during the Romantic period – concentrates on the moral and religious transfiguration of India and Buddhism in the Early Modern Age. This can be found in the literary and musical works of Karl Gjellerup, Richard Wagner, Thomas Mann, Rainer Maria Rilke, Hermann Hesse, even Bertolt Brecht and August Strindberg, who were influenced by the Buddhist Philosophy of Schopenhauer and Nietzsche.

This research paper seeks to illustrate how the understanding of the literary and musical works of those mentioned poets and composer leads to the understanding of Europe and European culture. It may also give the answer, why the Germans have special interest in Buddhism more than other Europeans.

 

 

Downloads

Published

2014-12-16

How to Cite

วัฒนางกูร พ. (2014). ตะวันออกในตะวันตก – การรับพุทธศาสนาในวรรณกรรม และดนตรีเยอรมันช่วงต้นยุคสมัยใหม่ (Orient in Occident – On the Reception of Buddhism in German Literature and Music in the Early Modern Age). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 6(1), 149–174. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/114