ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ Overview of Southern Thai Dialect Study

Authors

  • ตามใจ อวิรุทธิโยธิน

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือรวบรวมและสังเคราะห์ผลการศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยถิ่นใต้เพื่อแสดงสถานภาพปัจจุบัน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต งานวิจัยจำนวน 133 รายการ สะท้อนให้เห็นว่ามีการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ครบแล้วทั้ง 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และ สุราษฎร์ธานี รวมทั้งยังมีการศึกษาในพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับภาคใต้ของประเทศไทยด้วย ได้แก่ ภาคกลางของประเทศไทยและตอนบนของประเทศมาเลเซีย โดยภาพรวมผู้วิจัยพบว่ามีการศึกษาค่อนข้างมากกรณีภาษาไทยถิ่นใต้นครศรีธรรมราช ภาษาไทยถิ่นใต้สงขลา และภาษาไทยถิ่นใต้สุราษฎร์ธานี แต่มีการศึกษาค่อนข้างน้อยกรณีภาษาไทยถิ่นใต้อื่น ๆ ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่า ระบบเสียงพยัญชนะและสระของภาษาไทยถิ่นใต้แต่ละถิ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ในขณะที่ระบบเสียงวรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ การศึกษาเกี่ยวกับคำ/ไวยากรณ์/ความหมายดำเนินการศึกษาแล้วในหลายประเด็น นอกจากนี้ยังพบแนวแบ่งเขต/เขตปรับเปลี่ยนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและไทยถิ่นใต้บริเวณจังหวัดรอยต่อของภาคกลางและภาคใต้ (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง) งานวิจัยที่สามารถดำเนินการศึกษาในอนาคตได้ คือ ศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ที่ยังมีผลการศึกษาค่อนข้างน้อย หรือ ปรับเปลี่ยนวิธีการในการศึกษาให้เหมาะสมกับยุคสมัย ข้อค้นพบที่เกิดขึ้นนอกจากจะทันสมัยแล้ว ยังมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วย  

 

คำสำคัญ:  ภาษาไทยถิ่นใต้  ภาษาถิ่น  วิทยาภาษาถิ่น  ภาษาศาสตร์

 

 

 

 

 

 

Abstract

Objectives of this research are to collect and synthesize the studying of southern Thai dialects for representing the current status, including proposing the directions which can occur in the future. The findings from 133 pieces show the covering all 14 provinces of southern Thai dialect works; Krabi, Chumphon, Trang, Nakhon Si Thammarat, Narathiwat, Pattani, Phangnga, Phuket, Yala, Ranong, Songkhla, Satun and Suratthani; furthermore some places next to the southern Thai area, such as central Thai and upper part of Malaysia. The researcher found a lot of works in some southern Thai dialects (Nakhon Si Thammarat, Songkhla and Suratthani) but a few works in the rest of southern Thai dialects. The findings show that consonant and vowel systems in each southern Thai dialect have the similar characteristics, but tonal systems are divided into 3 groups. The vocabulary/grammatical/ meaning already occurred on many issues. Meanwhile the study on linguistic borderlines and transition areas are located on contiguous provinces between central and southern Thai. (Pracuapkirikhan, Chumphon and Ranong). The works that can do more in the future are to study the characteristics of some southern Thai dialects which still have a small number of the studies or modify the methodology of the studies. In addition to the modern findings, it is also more reliable as well.

Keywords:  Southern Thai dialect, Regional Dialect, Dialectology, Linguistics  

Downloads

Published

2021-02-01

How to Cite

อวิรุทธิโยธิน ต. . (2021). ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ Overview of Southern Thai Dialect Study. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 13(1), 1–32. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1143