การวิเคราะห์เปรียบต่างระบบเสียงของภาษาล่าหู่ กับภาษาไทย
Abstract
การวิเคราะห์เปรียบต่างมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษา และภาษาล่าหู่เป็นภาษาแม่ของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่สำคัญในประเทศไทย บทความวิชาการนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบต่างระบบเสียงของภาษาล่าหู่กับภาษาไทย โดยใช้แนวคิดของ Whitman (1970)
ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาษาล่าหู่ไม่มีหน่วยเสียงพยัญชนะต้น /r, w/ ของภาษาไทย และภาษาล่าหู่ไม่มีกลุ่มพยัญชนะและพยัญชนะท้าย ทำให้คนล่าหู่มีปัญหาในการออกเสียงพยัญชนะของภาษาไทยโดยเฉพาะพยัญชนะท้าย ส่วนหน่วยเสียงสระและวรรณยุกต์ของภาษาล่าหู่กับภาษาไทยมีความแตกต่างกัน และภาษาไทยมีความแตกต่างกันของ
ความยาวเสียงสระ แต่ภาษาล่าหู่ไม่มีความแตกต่างดังกล่าว ดังนั้นความแตกต่างดังกล่าวข้างต้นเป็นอุปสรรคกับคนล่าหู่ในการพูดภาษาไทย นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์มีประโยชน์ต่อครูผู้สอนภาษาไทยให้นักเรียนล่าหู่ และนักเรียนนักศึกษาล่าหู่ที่เรียนภาษาไทย
Contrastive analysis is essential to language learning and teaching. Moreover, the Lahu language is the mother tongue of one of the important ethnic groups in Thailand. The objective of this article is to analyze and
contrast the phonological systems of the Lahu and Thai languages.
Contrastive Analysis of Whitman (1970) was applied in the analysis for this article.
The analysis results revealed that the Lahu language does not have the initial consonant phonemes /r, w/, unlike the Thai language, which has these consonants as initials. Moreover, the Lahu language lacks consonant clusters and syllable-final consonants. These facts lead to the Lahu people having problems in pronouncing the consonants of the Thai language,
especially the final consonants. Moreover, there certainly are differences in the vowels and tones in the Lahu and Thai languages. In addition, the Thai language has vowel length distinctions but the Lahu language does not have vowel length distinctions. Therefore, these differences lead to the Lahu people having problems in speaking Thai. Furthermore, the analysis results were useful for Thai language teachers of Lahu students and Lahu students who study the Thai language.