ศิลปะการแสดง “โนรา” กับการพัฒนาชุมชน : บ้านเกาะประดู่ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง (Traditional Nora Performance and Community Development : Bankohpradu, Thamadua Sub - district, Bangkaew District, Phatthalung)
Keywords:
โนรา, การพัฒนาชุมชน, กลุ่มคนโนรา, กลุ่มทางวัฒนธรรม, กระบวนการเรียนรู้, การพึ่งตนเอง, Nora, community development, group of Nora, cultural group, learning process, self - reliance.Abstract
บทความนี้เป็นการนำเสนอแง่มุมของงานพัฒนาชุมชนที่นำศิลปะการแสดงโนรามาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นที่มีศิลปะการแสดงโนราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและเกิดขึ้นบนฐานความสามารถของคนในชุมชน ซึ่งเห็นถึงความหลากหลายของการนำมาใช้ ทั้งการฟื้นฟู การสืบทอด การอนุรักษ์ และการประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะประดู่ จังหวัดพัทลุง อันนำมาสู่การทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางวัฒนธรรม กระบวนการเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในการพัฒนา และภาวะแห่งการพึ่งตนเองได้ของชุมชน ซึ่งเห็นทั้งความรุ่งเรืองและชะงักงันของศิลปะการแสดงโนราที่เป็นไปตามวิถีการนำมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ของคนในชุมชน
This article presents an aspect of community development that brings traditional Nora performance as a tool of work. It has been seen as playing a significant role in development in line with cultural landscape of the local community that Nora is part of the community and is produced by ability of local people. There are a wide variety of applications such as restoration, succession, conservation, and application for problem-solving and making benefit for the community in the region of Ban Ko Pradu, Phatthalung province. These lead to the causes of cultural integration, learning process about the community,local people’s participation in development, and self -reliance in the community which reflects the rise and the stasis of performing art of Nora that depends on the path the community has used in various situations.