การประเมินโครงการกระบวนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี (An Evaluation of the Development Process and Increasing Educational Quality in Small School Project)
Keywords:
การประเมินโครงการ, การยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาAbstract
การประเมินโครงการกระบวนการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ครั้งนี้ทำการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความพร้อมด้านบุคลากร อาคารสถานที่ งบประมาณ และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับ กิจกรรมในโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเพียงพอ และความเหมาะสม ของปัจจัยในการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตาม การประสานงาน การติดตามโครงการ การให้ความสำคัญของผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งประเมินผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพ ของผู้เรียน ประสิทธิผลในการบริหารจัดการ และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลมี 6 กลุ่มจำนวนทั้งสิ้น 513 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ จำนวน 6 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมินสรุป ดังนี้ ผลการประเมินด้านบริบท โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง และตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง ผลการประเมินด้าน ปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง ตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัว คือ ความเพียงพอ และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ ปานกลาง ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด โดยตัวชี้วัดการประสานงานและ การให้ความสำคัญของผู้เกี่ยวข้อง ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด ส่วนตัวชี้วัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตาม และการติดตามโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด ตัวชี้วัดระดับคุณภาพผู้เรียน ซึ่งมีตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัด คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ใน ระดับสูงที่สุด และตัวชี้วัดประสิทธิผลในการบริหารจัดการผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง ตัวชี้วัดย่อยที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด คือ ความพึงพอใจของนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง คือ ความพึงพอใจของผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้รับผิดชอบโครงการส่วนตัวชี้วัดย่อยที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ ปานกลาง คือ ความพึงพอใจของผู้บริหารและครู
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมผ่านเกณฑ์ในระดับสูง ได้คะแนนรวม 82.2 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็นผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยประเด็นด้านกระบวนการ และผลผลิตผ่านเกณฑ์ในระดับสูงที่สุด ส่วนด้านบริบทและปัจจัยนำเข้าผ่านเกณฑ์ในระดับปานกลาง และตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 13 ตัวชี้วัด