การประเมินแบบไขว้ (Cross-Evaluation)

Authors

  • ภัทราวดี มากมี Eastern Asia University

Abstract

การศึกษาถือเป็นรากฐานและเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาคน เศรษฐกิจ และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศทุกประเทศทั่วโลกจึงมุ่งบริหารจัดการและพันาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ และโลกในยุคปัจจุบัน ต่างยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นโลกแห่ง “สังคมอุดมปัญญา” (Intellectual Society) ที่ถือว่า กำลังความรู้ความสามารถของประชากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันกิจกรรมการแข่งขันที่เข้มข้นที่สุดของยุคสมัยนี้ คือการแข่งขันด้านการศึกษา ที่หากประเทศใดมีการพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้า มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ทั่วไปแล้ว ประเทศนั้นย่อมจะได้รับความเชื่อมั่นจากนานาประเทศได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจ สังคมของประเทศนั้นมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย

จากความเคลื่อนไหวในรอบหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประชุมรอบอุรุกวัยที่นำไปสู่การที่องค์การการค้าโลก (World Trade Organization-WTO) ได้ประกาศให้อุตสาหกรรมการบริการต้องเปิดเสรีในปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ.2545) เชื่อมโยงมาถึงกรณีการเปิดการค้าเสรีทางการศึกษาในเวลาต่อมาเป็นเครื่องแสดง ให้เห็นว่า กระแสความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้นส่งอิทธิพลกว้างขวางถึงทุกประเทศ ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงเป็นสิ่งแรก เพื่อให้การศึกษาไทยสามารถ “ เข้าแข่งขัน” ร่วมกับการศึกษาของนานาชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ ซึ่งจะสามารถผลักดันให้ศักยภาพด้านอื่นๆ เข้มแข็งตามมา

ผู้เขียนจึงคิดว่าการพัฒนาวิธีการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงเป็น ส่วนสำคัญในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทยให้เข้มแข็งจึงทำให้ผู้เขียนได้สนใจ ค้นหาแนวทาง และวิธีการประเมินที่เหมาะสมมากที่สุดเพื่อให้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

Downloads

Published

2014-11-25

How to Cite

มากมี ภ. (2014). การประเมินแบบไขว้ (Cross-Evaluation). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 1(1), 19–30. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/17