กลยุทธ์น่านสีคราม (Blue Ocean Strategy)

Authors

  • นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี Suratthni Rajabhat University

Abstract

เรื่องของกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ถือเป็นแนวคิดทางด้านการบริหารกลยุทธ์ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันมากใน ปัจจุบัน โดยแนวคิด Blue Ocean Strategy หรือ BOS นั้นได้รับการพัฒนาและเขียนเป็นหนังสือขึ้นมาโดย W. Chan Kim และ Renee Mauborgne สองนักวิชาการจากสถาบัน INSEAD ประเทศฝรั่งเศส คุณลักษณะที่สำคัญของกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม คือ ไม่เน้นการแข่งขัน ไม่เน้นการเอาชนะคู่แข่ง แต่เน้นการทำให้คู่แข่งล้าสมัย ไม่เน้นการตอบสนองต่ออุปสงค์หรือความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เน้นการสร้างความต้องการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้ กลยุทธ์น่านน้ำสีครามยังไม่เน้นดึงลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่พยายามจับกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่ได้เป็นลูกค้าเดิม มาก่อน (Non-customer) โดยจะต้องพิจารณาว่าสิ่งที่มีอยู่จะสามารถกำจัด ลด เลิก และสร้างอะไรได้บ้าง เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่า (value innovation) ให้กับองค์กรและสินค้าของตัวเอง

ถือเป็นการคิดศัพท์ใหม่ที่ต่างจากกลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) ซึ่งเน้นการแข่งขันกันในตลาดกลุ่มเดิมที่อิ่มตัวแล้วและตลาดไม่สามารถเติบโตได้อีกและทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากัน โดยกลยุทธ์น่านน้ำสีแดงมักจะใช้กลยุทธ์ราคาเป็นกลยุทธ์หลัก ซึ่งจะส่งผลทำให้ธุรกิจประสบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากเมื่อทุกธุรกิจคิดเหมือนกันและทำเหมือนกันคือการลดราคาแข่งกันจะทำให้การแข่งขันระหว่างกันมีมากขึ้น ท้ายที่สุดธุรกิจที่อ่อนแอต้องล้มละลายไป แต่ธุรกิจที่อยู่รอดก็อยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่และอาจจะล้มละลายได้ในอนาคต

รายละเอียดในหนังสือกลยุทธ์น่านน้ำสีครามยังได้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจสู่น่านน้ำสีครามไว้ 6 มุมมอง ด้วยกันดังนี้ (ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ Blue Ocean Strategy)

Downloads

Published

2022-12-19

How to Cite

สุขศรี น. ห. (2022). กลยุทธ์น่านสีคราม (Blue Ocean Strategy). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 1(2), 141–148. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/20