พิธีไหว้ครูดนตรีไทย (The Ceremony of Paying Homage and Respect to Music Teachers)
Keywords:
ดนตรีไทย, พิธีไหว้ครู, Wai Khru ceremony, Thai MusicAbstract
การวิจัยเรื่อง “พิธีไหว้ครูดนตรีไทย” เป็นงานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญ บทบาทของครูในพิธีไหว้ครู แบบแผน แนวปฏิบัติในการจัดตั้งมณฑลพิธี ระเบียบพิธีกรรม ดนตรี เพลงที่ใช้บรรเลงระหว่างการประกอบพิธีไหว้ครู การวิจัยใช้ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยมีดังนี้
พิธีไหว้ครูดนตรีไทยมีความหมายถึงการประกอบพิธีที่ศิษย์แสดงความกตเวทิตาคุณต่อครู ความสำคัญของครูที่มีต่อศิษย์นั้นเพราะครูเป็นผู้ให้ทั้งความรู้และความเจริญรุ่งเรืองแก่ศิษย์ ครูในพิธีไหว้ครูมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มมหาเทพ กลุ่มดุริยเทพ กลุ่มเทพเจ้าและพระฤๅษี และกลุ่มครูมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้ว การประกอบพิธีมีครูท่านหนึ่งเป็นผู้ทำพิธี ในการวิจัยได้ข้อมูลครูผู้ทำพิธี 139 คน มี 8 สาย คือ สายพระประดิษฐไพเราะ (มีแขก) สายหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ) สายนายทั่ง (สุนทรวาทิน) สายจางวางสวน ชิดท้วม สายนายนิ่ม โพธิ์เอี่ยม สายพระประณีตวรศัพท์ (เขียน วรวาทิน) สายนายเปลื้อง กรานต์เลิศ และสายเบ็ดเตล็ดทั่วไป
ระเบียบพิธีไหว้ครูดนตรีไทย นิยมจัดในวันพฤหัสบดีหรือหากไม่สะดวกก็มักจัดในวันอาทิตย์แทน มีขั้นตอนสำคัญ คือ พิธีบูชาพระรัตนตรัย พิธีบวงสรวงอัญเชิญครูมาสู่ปริมณฑลพิธี ร่วมชุมนุมสโมสรอำนวยพร รับการถวายเครื่องกระยาสังเวย การเชิญครูกลับสู่ที่สถิต และพิธีของครูปัจจุบันกับศิษย์ มีการเจิม การครอบครูทางดนตรีด้วยวิธีใช้ฉิ่งครอบที่ศีรษะ จับมือตีตะโพน หรือตีฆ้องวงใหญ่ด้วยประโยคต้นของทำนองเพลง 3 ครั้ง ถือว่าได้เริ่มต้นเรียนเพลงหน้าพาทย์นั้นๆ แล้ว
การประกอบพิธีไหว้ครูดนตรี มีวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ระเบียบวิธีที่เป็นรากฐานของการเรียบเรียงบทโองการไหว้ครู วิธีปฏิบัติของพิธีไหว้ครูดนตรีไทยเกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453 – 2468) ต่อมาจึงมีการสืบทอด ปรับปรุงในรายละเอียด มีการประพันธ์ทำนองเพลงหน้าพาทย์เพิ่มเติมจนนำไปสู่ความแตกต่างของครูผู้ทำพิธีของแต่ละสายสำนัก ในการวิจัยพบว่ามีเพลงหน้าพาทย์ที่มีนัยสำคัญ 9 ประเภท คือ (1) เพลงที่แสดงการน้อมบูชาพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เพลงสาธุการ (2) เพลงที่บูรณาการและมีนัยอย่างอื่นด้วย เช่น เพลงกระบองกันใช้สำหรับเนรมิตแล้วยังใช้เพื่อการประสิทธิประสาทพรด้วย (2) เพลงประจำองค์ของครู เช่น เพลงตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประจำองค์พระนารายณ์ เพลงพระพิราพเต็มองค์ ประจำองค์พระพิราพ (4) เพลงประกอบการเสด็จหรือเดินทางของครู เช่น เพลงโคมเวียน (5) เพลงอัญเชิญครูมาร่วมชุมนุมสโมสร เช่น เพลงตระสันนิบาต ตระเชิญ (6) เพลงประสาทพร เช่น เพลงตระเทวาประสิทธิ์ (7) เพลงที่แสดงอิทธิฤทธิ์ตามจินตภาวะ เช่น เพลงตระนิมิต เพลงรัว (8) เพลงอัญเชิญครูเสวยเครื่องกระยาสังเวย มีเพลงนั่งกิน เซ่นเหล้า และ(9) เพลงเกี่ยวกับขวัญกำลังใจ ฤกษ์งามยามดี เช่น เพลงมหาฤกษ์ มหาชัย เมื่อกิจกรรมดำเนินไปตามจนครบทุกขั้นตอนพิธีแล้ว วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงเชิด และกราวรำ เพื่อแสดงความยินดีในความสำเร็จสมบูรณ์ของการประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทย
This qualitative research study was conducted by a vast data collection
concerning the methodology, cultural background, ritual ceremony meaning of paying homage and respect to music teachers. The origin of ceremony started with the great gratitude feeling toward teachers whom all Thais are always respect. Teachers in this study are listed in four specific groups. They are among the Hindu gods,unseen spirits, hermits and human teachers which included the passed away and the today living teachers. The ceremony is commonly done on Thursday (Teacher's day). Ceremonies are widely involved with old Thai customs, traditions, religion and some crossed cultural belief between the Indian and Thai. The person who performs the ritual ceremony must be one who had received the Aung-karn (Declaration of Devine<s Sermon) that passed from senior teachers of old time to present.
Arranging of the ceremonial halls begins with setting of two separate altars at high level in the hall, a small one on the right for Lord Buddha and the big one on the left for teachers. This included the head-dresses of music gods, head figures of hermits, demons (giant) and the old photos of the dead teachers. Several music instruments are also set on the altar lower from the teachers< head-dresses. At the lower third level there are several offerings such as food, drinks, flowers and etc., which are intended to give for teachers.
The Pi-phaat ensemble of 8 players is an essential setting for the ceremonymusic. The Declaration of Devine<s Sermon in Thai, Pali and Sanskrit languages will be announced loudly by who attend the ceremony. Invitation to gods of music, including the Hindu gods, the Thai unseen spirits, hermits, the passed away teachers and all music artists. At the end of each invitation verse, the special song of particular teacher of music is played by the Pi-phaat ensemble. Selected of special songs or the phleng Na-phaat is signified as a reception and the arrival of each teacher to the ceremony hall. After all the teacher spirit and god arrived, the master of ceremony will present food, drinks and other offerings to all spirits with special song that signify the acting of sitting, eating and drinking. After the invitation and presentation of offerings are finished, now, it is time to receive the blessing verse from all teachers. Ceremony is ended up by the return of all teachers to their original places (i.e. to heaven) by playing the special song of departing named PKrao-ramR.
This study showed collection of data dated back over hundreds of years.
Results showed 139 names of teachers who performed the ritual ceremony since the past century till today. There are 8 denomination lines of the ritual ceremony, method used in Thailand since the year 1853. All of the 8 denomination lines are still practicing till today. There are tables showing the most frequent line used which belonged to Phra Pradit Phirau (Khru Mee Kheak) who lived during 1799 - 1879.
Songs and music used in the ceremony are divided into 9 functioning groups.They are: (1) songs for paying respect (homage) to Lord Buddha, (2) songs that show the action of body transformation episode by teachers, (3) specific song of each teacher, (4) songs that referred to Body movements (coming, departing, flying) of teachers, (5) song of invitation and arrival of teacher, (6) song of blessing from teachers, (7) songs that show the great power and fierce, (8) songs of action such as sitting, eating and drinking and (9) songs that show feeling of delight and cheerful.
Wai Khru ceremony has been the most important tradition of all Thais till
present. It showed the good custom, moral, ethical conduct and gratitude in Thai culture. Teachers are very important to Thai<s life since we all learn good things from them. Musicians may not be able to make good living or become professional without help and support by teachers.