ลักษณะคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณกรรม ท้องถิ่นภาคใต้เรื่อง พระมหาชาดกคำกาพย์ An Analytical Study of Pali and Sanskrit Loanwordsin Phramahajataka Khamkab, A Southern Thai Literary Work

Authors

  • ณัฐา วิพลชัย Suratthani Rajabhat University

Keywords:

คำยืม, ภาษาบาลีสันสกฤต, วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้, พระมหาชาดกคำกาพย์

Abstract

            บทความวิจัยนี้มุ่งการวิเคราะห์ลักษณะคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องพระมหาชาดกคำกาพย์ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกเป็น 3 ด้าน คือ 1. วิเคราะห์ที่มาของคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องพระมหาชาดกคำกาพย์ 2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเสียงของคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต และ 3. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่อง พระมหาชาดกคำกาพย์
            ผลการศึกษาพบว่า คำยืมภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องพระมหาชาดกคำกาพย์ เป็นคำยืมที่มาจากภาษาบาลีมากกว่าคำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเสียงทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของภาษาและการเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ทางการใช้ภาษา ส่วนการเปลี่ยนแปลงความหมายมีทั้งการคงความหมายเดิม และการเปลี่ยนแปลงความหมายให้กว้างออก แคบเข้าและการย้ายที่ความหมายของคำเนื่องจากวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมศาสนาผู้ประพันธ์จึงนิยมใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา การใช้คำยืมภาษาบาลีสันสกฤตจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า นอกจากผู้ประพันธ์ชาวท้องถิ่นภาคใต้มีความรู้แตกฉานในเรื่องพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาแตกฉานในเรื่องภาษาบาลีสันสกฤตด้วย

        

Downloads

Published

2015-11-07

How to Cite

วิพลชัย ณ. (2015). ลักษณะคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณกรรม ท้องถิ่นภาคใต้เรื่อง พระมหาชาดกคำกาพย์ An Analytical Study of Pali and Sanskrit Loanwordsin Phramahajataka Khamkab, A Southern Thai Literary Work. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 7(2), 17–46. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/303