พุทธจริยศาสตร์กับสเต็มเซลล์ Buddhist ethics and stem cell

Authors

  • เกียรติศักดิ์ ดวงจันทร์ Suratthani Rajabhat University

Keywords:

พุทธจริยศาสตร์, สเต็มเซลล์

Abstract

              วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าถึงขั้นนำ
สเต็มเชลล์มาบำรุงรักษาและซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ที่เสื่อมสภาพหรือ
เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา สเต็มเซลล์ที่นำมาพัฒนาจะอยู่ในช่วงระยะ Blastocyst ใน
ช่วงระยะนี้มีปัญหาที่ถกเถียงกันมากว่าเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์หรือไม่ ตามแนวคิด
พุทธจริยศาสตร์เชื่อว่าเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์ เพราะความเป็นชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่
กลละที่มีขันธ์ห้าครบถ้วน ขันธ์ห้านี้เมื่อย่อแล้วมีสองส่วนคือรูป (กลละ) กับวิญญาณ
(ปฏิสนธิวิญญาณ) สองส่วนนี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกันโดยสิ่งหนึ่งเป็นเหตุและอีกสิ่งหนึ่ง
เป็นผลสามารถเชื่อมโยงไปสู่กันและกัน เมื่อมีกลละย่อมมีปฏิสนธิวิญญาณ ในที่นี้ปฏิสนธิ
วิญญาณเป็นผล เชื่อมโยงมาจากกลละหรืออีกนัยหนึ่งกลละเป็นเหตุของปฏิสนธิวิญญาณ
การกระทำโดยการแยกสองส่วนนี้ออกจากกันหรือขันธ์ห้าแยกออกจากกัน ไม่สามารถอิง
อาศัยซึ่งกันและกันได้เมื่อใด การสิ้นสุดของชีวิตมนุษย์มีเมื่อนั้น ฉะนั้น การทำลายกลละ
หรือการตัดทอนหรือบั่นทอนหรือการเข้าไปตัดทอนหรือบั่นทอนการสืบต่อชีวิตมนุษย์ด้วย
การนำสเต็มเซลล์ไปพัฒนาเป็นเซลล์ทำหน้าที่เฉพาะจึงถือว่าเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์

Downloads

Published

2015-11-07

How to Cite

ดวงจันทร์ เ. (2015). พุทธจริยศาสตร์กับสเต็มเซลล์ Buddhist ethics and stem cell. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 7(2), 119–150. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/307