โนราโรงครูบ้านปลายระไม รัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซีย : ลักษณะเด่นและบทบาทสำคัญ Persistence of Nora Rong Khru Ritual : Its Characteristics and Roles in the Context of Ban Plairamai, Kedah, Malaysia

Authors

  • ปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์ Suratthani Rajabhat University

Keywords:

โนราโรงครู, ชาวสยามในมาเลเซีย, ลักษณะ, บทบาท

Abstract

   

     โนราโรงครูเป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวใต้ในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่นับถือกันว่ามีเชื้อสายโนราหรือมีตายายเป็นโนรา พิธีกรรมนี้ไม่เพียงดำรงอยู่ในภาคใต้เท่านั้นแต่ยังปรากฏอยู่ในชุมชนชาวสยามในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย อันได้แก่ กลันตัน ปะลิส เคดาห์ และเประ ที่รัฐเคดาห์ บรรพบุรุษของชาวสยามส่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา เข้ามาตั้งถิ่นฐานรกรากที่เมืองไทรบุรีก่อนที่เมืองนี้จะตกเป็นของอังกฤษ และกลายเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซียในสมัยต่อมาปัจจุบันชาวสยามที่นี่ยังคงดำเนินชีวิต ใช้ภาษา และมีขนบธรรมเนียมประเพณี เช่นเดียวกับชาวไทยในภาคใต้ของประเทศไทย

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นและบทบาทของพิธีกรรมโนราโรงครูที่บ้านปลายระไม (Kg. Titi Akar) ตำบลปาดังเกอร์เบา (Padang Kerbau) เมืองเปิ้นดัง (Pendang) รัฐเคดาห์ (Kedah) ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) จากข้อมูลภาคสนามพบว่าพิธีกรรมโนราโรงครูที่บ้านปลายระไมแม้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโนราในภาคใต้ แต่ก็มีลักษณะเด่นหลายประการ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบพิธีกรรมการสร้างโรงโนราความเชื่อเรื่องครูหมอโนรา ธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับโนรา ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมมีพิธีแทรกที่ แตกต่างไปจากโนราในภาคใต้ ในประเด็นเรื่องบทบาทของโนราโรงครู ผู้วิจัยพบว่าโนราโรงครูที่บ้านปลายระไมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้กับคนในชุมชน แสดงอัตลักษณ์ความเป็นไทย และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับชุมชน

         บทความนี้จะทำให้เห็นการดำรงอยู่และการสืบทอดทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในสังคมพหุวัฒนธรรม ผ่านบริบทการข้ามพรมแดนไทย – มาเลเซีย

Downloads

Published

2015-11-07

How to Cite

เชาวลิตประพันธ์ ป. (2015). โนราโรงครูบ้านปลายระไม รัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซีย : ลักษณะเด่นและบทบาทสำคัญ Persistence of Nora Rong Khru Ritual : Its Characteristics and Roles in the Context of Ban Plairamai, Kedah, Malaysia. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 7(2), 161–192. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/309