กระบวนทรรศน์หลังนวยุคในปรัชญาศิลปะของท่านพุทธทาสภิกขุ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน Post - Modern Paradigm in Philosophy of Art in the Point of view of Ven. Buddhadasa Bhikku : An Analytic, Appreciative and Applicative Study

Authors

  • พิชัย สุขวุ่น Suratthani Rajabhat University

Keywords:

พุทธทาสภิกขุ, กระบวนทรรศน์หลังนวยุค, ปรัชญาศิลปะ

Abstract

               งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปรัชญาศิลปะของท่าน พุทธทาสภิกขุ มีกระบวนทรรศน์ทางปรัชญาตรงกับกระบวนทรรศน์หลังนวยุคหรือหลัง สมัยใหม่ โดยมีสาระสำาคัญตรงกันหลายประการ เช่น การปฏิเสธความแน่นอนตายตัว ตามกฎวิทยาศาสตร์ การเข้าใจความจริงของโลกต้องตีความผ่านภาษาตามบริบท ของภาษานั้น ๆ และยอมรับว่าโลกต้องมีความหลากหลาย ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ที่มิอาจหลีกเลี่ยง การเห็นโลกในทรรศนะดังกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุ ปรากฏอยู่ในคำาอธิบาย หลักธรรมทางพุทธศาสนาของท่าน โดยท่านได้ตีความคำาสอนให้มีความหมายใหม่ เพื่อให้ เราสัมผัสกับนิพพานหรือความหลุดพ้นได้ในชีวิตประจำาวันนี่เอง และการเข้าถึงความ หลุดพ้นดังกล่าว ท่านเรียกว่า เห็นปรัชญาศิลปะ

                การนำาเสนอในครั้งนี้จะนำาเสนอในรูปของการถกเถียงของความเห็นที่ตรงข้าม กันสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าปรัชญาศิลปะของท่านไม่สอดคล้องกับกระบวนทรรศน์ หลังนวยุคแต่อย่างใด แต่ผู้วิจัยได้เสนอเหตุผลหักล้างความเห็นดังกล่าว และแสดงเหตุผล ให้เห็นว่า ท่านเป็นนักคิดหลังนวยุคอย่างแน่นอน เพราะท่านเน้นว่าโลกเป็นอนัตตา และ การเห็นดังกล่าวจะทำให้โลกเกิดสันติภาพได้

Downloads

Published

2015-11-15

How to Cite

สุขวุ่น พ. (2015). กระบวนทรรศน์หลังนวยุคในปรัชญาศิลปะของท่านพุทธทาสภิกขุ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน Post - Modern Paradigm in Philosophy of Art in the Point of view of Ven. Buddhadasa Bhikku : An Analytic, Appreciative and Applicative Study. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 7(3), 33–62. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/316