พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ อาชญากรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี Self - Defense Behavior of High School Female Students in Surat Thani to Avoid Being Sexual Crime Victims

Authors

  • อภิรญา นิจจันพันธ์ศรี นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ, เหยื่ออาชญากรรม, อาชญากรรมทางเพศ, นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา

Abstract

การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
ทางเพศของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการศึกษา
เชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรู้และทัศนะเกี่ยวกับ
เรื่องเพศของนักเรียนหญิง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ
อาชญากรรมทางเพศของนักเรียนหญิง และเพื่อแสวงหาแนวทางการป้องกันการตกเป็น
เหยื่ออาชญากรรมทางเพศของนักเรียนหญิง โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires)
เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 393 คน ของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2555
จำนวน 6 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิม
เลขคณิต (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบ
สมมติฐานด้วยการวิเคราะห์เพื่อหาความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
โดยใช้สถิติ One - way ANOVA (F - test) และ Independent Sample t - test เพื่อ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS
สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่
มีอายุ 15 ปี หรือน้อยกว่า มีเกรดเฉลี่ยของภาคเรียนที่ผ่านมา 3.01 – 4.00 ส่วนใหญ่

พักอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์หรือบ้านจัดสรร นักเรียนหญิงเกือบทั้งหมดไม่มีบุคคล
รู้จักเคยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ ไม่เคยประสบเหตุการณ์หรือสถานการณ์
ใกล้เคียงที่จะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ และประมาณกึ่งหนึ่งไม่เคยเข้าอบรมเพื่อ
รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมทางเพศ มีระดับความรู้เกี่ยวกับ
เรื่องเพศและการป้องกันอาชญากรรมทางเพศ อยู่ในระดับปานกลาง ทัศนะของนักเรียน
ต่อเรื่องเพศและการป้องกันอาชญากรรมทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สรุปภาพรวม
ของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของวัยรุ่น
เพศหญิงอยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า มีเพียงตัวแปรอายุ (P - value
= .004*) ที่ส่งผลให้นักเรียนหญิงมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองแตกต่างกัน ส่วนตัวแปร
อื่น ๆ ไม่ส่งผลให้นักเรียนหญิงมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองแตกต่างกัน การทดสอบ
สมมติฐานที่ 2 นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาที่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศต่างกันมีพฤติกรรม
การป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 (P - value = .005*) กล่าวคือ กลุ่มที่มีระดับความรู้น้อย จะมี
พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศน้อยกว่ากลุ่มที่มี
ระดับความรู้มากกว่า ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานที่ 3 นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา
ที่มีทัศนะเกี่ยวกับเพศต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ
อาชญากรรมทางเพศต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P - value = .039*)
กล่าวคือ นักเรียนที่มีทัศนะเห็นด้วยกับประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้ตนเองมีความเสี่ยงต่อการ
ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ จะมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ
อาชญากรรมทางเพศมากกว่ากลุ่มที่เห็นด้วยกับประเด็นต่าง ๆ ในระดับน้อยกว่า

Downloads

Published

2016-03-25

How to Cite

นิจจันพันธ์ศรี อ. (2016). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ อาชญากรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี Self - Defense Behavior of High School Female Students in Surat Thani to Avoid Being Sexual Crime Victims. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(1), 181–208. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/387