สืบโยดสาวย่านงานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ : พลังความคิดและภูมิปัญญา Tracing the Research on Southern Culture : Wisdom Power and Intellect
Keywords:
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้, พลังความคิด, ภูมิปัญญาAbstract
บทความนี้มุ่งสังเคราะห์และประเมินสถานการณ์องค์ความรู้การวิจัยวัฒนธรรม
ภาคใต้ กรณีพลังความคิดและภูมิปัญญา ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่จำแนกคือ ประวัติศาสตร์
วรรณกรรมท้องถิ่น คติชนวิทยา ภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
และประวัติบุคคล โดยได้สำรวจเอกสารเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ และ
หนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมภาคใต้ซึ่งเป็นงานที่ผลิตระหว่างปี พ.ศ. 2537 – 2544 จำนวน
300 เรื่อง มีงานบทความวิชาการมากที่สุด รองลงมาคือวิทยานิพนธ์และงานวิจัย ส่วน
หนังสือมีจำนวนน้อยที่สุด ในส่วนของเนื้อหา งานศึกษาประวัติศาสตร์มีจำนวนมากที่สุด
รองลงมาคือวรรณกรรมท้องถิ่น คติชนวิทยา ภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อม และประวัติบุคคลตามลำดับ จากการสังเคราะห์พบว่า แม้ผลงาน
ที่สะท้อนองค์ความรู้หลายชุด แต่การนำเสนอจำกัดอยู่ภายใต้การอธิบายปรากฏการณ์
การนำปัญหามาศึกษายังคงจำกัดอยู่กับการมองในวงแคบ ขาดโจทย์หรือคำถามที่จะนำ
ไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ขาดความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
และขาดการเชื่อมร้อยกับชุมชน ผลงานส่วนใหญ่จึงปรากฏเป็นภาพนิ่ง นอกจากนี้
งานดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนางานวิจัยที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกเพื่อ
สนับสนุนกระบวนการสร้างความรู้ นักวิจัย และระบบการวิจัยเพื่อยกระดับขีดความสามารถ
ของสังคมและชุมชนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ในวงจำกัด