จิตรกรรมไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 (Traibhum Painting in King Rama IX Period)

Authors

  • สนั่น รัตนะ ภาคีสมาชิกราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน Associate Fellow of the Royal Institute, Art Bureau, the Royal Institute

Keywords:

จิตรกรรมไตรภูมิ ภาพพระบฏ สมัยรัชกาลที่ 9, Traibhum (Three worlds) painting, Phapprabot, King Rama IX period

Abstract

ภาพจิตรกรรมไตรภูมิสมัยรัชกาลที่ 9 เขียนขึ้นเพื่อเป็นภาพประกอบหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยมีศิลปินไทยที่มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นผู้เขียน มีขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาว 22.35 เมตร ด้วยเทคนิคสีอะครีลิคบนผ้าใบ แนวคิดในการสร้าง ลักษณะของภาพเป็นภาพจิตรกรรมเคลื่อนที่ได้ ซึ่งเรียกว่าภาพพระบฏ ในรูปแบบจิตรกรรมไทยแบบประเพณีและจิตรกรรมไทยร่วมสมัย การจัดวาง
องค์ประกอบของภาพมีการปรับขยายพื้นที่ออกในทางกว้าง วางตำแหน่งของภาพที่มีความสำคัญเท่ากันให้อยู่ในระนาบเดียวกัน โครงเรื่องของภาพเป็นการเล่าเรื่องไตรภูมิที่กล่าวถึง อรูปภูมิ รูปภูมิ กามภูมิ ตามแบบแผนดั้งเดิม ส่วนที่เปลี่ยนแปลง คือ การใช้ฉากหลังสภาพบ้านเรือน เหตุการณ์สำคัญ สภาพวิถีชีวิตสังคมและผู้คนอยู่ในยุครัชกาลที่ 9 ส่วนด้านเนื้อหายังคงยึดหลักแนวคิดเดิม คือ มุ่งสอนให้คนทำดี เกรงกลัวต่อบาป ละอายต่อการทำชั่ว

Traibhum (Three Worlds) painting in King Rama IX period was painted to be the illustration in Traibhumikatha book, King Rama IX version, to celebrate His Majesty the King’s 72th Birthday Anniversary on the 5th of December, 2011. It was painted by the artists in the reign of King Rama IX of Rattanakosin Kingdom. It is 3.50 meters wide and 22.35 meters long with acrylic technique on canvas. The concept and the characteristic of the painting is a moveable painting. It is called Phapprabot in Thai traditional and contemporary painting style. The arrangement of the painting composition was adjusted, expanded, and the equivalent important paintings were arranged on the same level. The painting’s plot is about Traibhum : Arupabhum (Formless Planes), Rupabhum (Form Planes), and Kamabhum (Sensuous Planes) in traditional style. The changed part is the background which covers the state of housing, important events, ways of life and society, and people in the reign of King Rama IX. The content maintains the former concept that aims to teach people to do good deeds, be afraid of sins, and be ashamed to do bad deeds.

Downloads

Published

2016-07-26

How to Cite

รัตนะ ส. (2016). จิตรกรรมไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 (Traibhum Painting in King Rama IX Period). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(2), 35–50. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/462