หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย ตามประมวล กฎหมายอาญา เปรียบเทียบพุทธวินัยบัญญัติ (No Crime, no Punishment without Law in Penal Code Compared with Buddhist Discipline (Vinaya) Regulations)

Authors

  • สุชาดา ศรีใหม่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Faculty of Law, Suratthani Rajabhat University

Keywords:

หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา พุทธวินัยบัญญัติ, No crime, No Punishment, Without law, Penal code, Discipline (Vinaya) regulation

Abstract

      “หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย” (Nullum crimen, nulla poena sine lege) เป็นแนวคิดของนักปรัชญาทางตะวันตก แนวคิดนี้เป็นหลักสากล ในทางกฎหมาย ซึ่งมีอิทธิพลต่อกฎหมายของไทยมาจนกระทั่งปัจจุบัน เกิดขึ้นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับบุคคลที่กระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านมาแล้ว แต่ในขณะนั้น ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าสิ่งที่กระทำเป็นความผิดเอาไว้ หากมีการบัญญัติกฎหมายในภายหลังว่าการกระทำในอดีตนั้นเป็นความผิด และต้องรับโทษจะต้องนำตัวบุคคลดังกล่าวมาลงโทษ จะเป็นการละเมิดหลักดังกล่าวซึ่งไม่สามารถกระทำได้ ในพระวินัยทางพุทธศาสนามีข้อบังคับพระภิกษุมิให้ประพฤติผิด ถ้าภิกษุรูปใดล่วงละเมิดย่อมได้รับโทษเรียกว่า “ต้องอาบัติ” โดยเฉพาะอาบัติปาราชิกเป็นโทษหนักที่สุด ภิกษุที่ต้องอาบัตินี้ย่อมขาดจากความเป็นภิกษุไม่สามารถกลับมาบวชใหม่ได้อีก พระวินัยดังกล่าวเป็นแนวทางชี้ให้เห็นว่า จะไม่มีความผิด ถ้าหากไม่ได้กำหนดโทษเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับหลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย เมื่อนำหลักกฎหมายมาเปรียบเทียบกับพระวินัยทำให้เห็นเจตนาที่ตรงกันคือ ให้ความเป็นธรรมกับบุคคลผู้กระทำการใดลงไปจะไม่มีความผิด ไม่ต้องรับโทษในเมื่อไม่มีบทบัญญัติใด ๆ บังคับเอาไว้ แต่ก็มีความแตกต่างกัน คือ ในกรณีหลักกฎหมายที่ว่านี้เกิดจากแนวคิดของนักปรัชญาตะวันตก ส่วนพระวินัยเกิดจากการบัญญัติของพระพุทธเจ้า แหล่งกำเนิดแนวคิดของหลักกฎหมายเกิดในทวีปยุโรป แต่พระวินัยมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย ความแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือระยะเวลาของการนำหลักกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 ซึ่งผ่านมาประมาณสองร้อยปี ขณะที่พระวินัยได้บัญญัติใช้หลังจากพุทธศาสนารุ่งเรือง คือ เมื่อประมาณสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว หลักทั้งสองดังกล่าวต่างก็ยังยึดถือและปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน

        “No crime, no punishment without law” is the concept of the western
philosophers. This concept is universal primary in the law that has influence on Thai law until now. It’s fair to people who do something in the past. But at that time no matter what any law provide an offense. If there is an enactment later that actions in the past are wrong and must be punished, that person shall be punished. It’s a violation of that primary which can not do. In the discipline of Buddhist, monks have regulations to prevent misconduct which is called “monk offense” (punishing the monk who violates the religious discipline). In particular, monk offense is the heaviest penalty. The monk who has got “monk offence” can not be a monk anymore and can not enter the monkhood again. That discipline (Vinaya) regulation is such a way to suggest that there is no crime if there is no specified punishment. This looks like “No crime no punishment
without law”. When the principle of law is compared with the discipline (Vinaya) regulation, it can be seen that the intention is to uphold justice to the person who will do anything but no guilt, no punishment because it is without law. However, there are some differences that the law was emerged from the concept of western philosophers, but the discipline (Vinaya) regulation was emerged from Buddha. The concept of the rule of law originated in Europe. But the discipline originated in India. Another difference is that The enforcement of the law was during the 19th and 20th centuries, which is about two hundred years ago. While the discipline was imposed after Buddhism was flourishing about two thousand and five hundred years ago. The two main principles are still abided by people until now.

Downloads

Published

2016-07-26

How to Cite

ศรีใหม่ ส. (2016). หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย ตามประมวล กฎหมายอาญา เปรียบเทียบพุทธวินัยบัญญัติ (No Crime, no Punishment without Law in Penal Code Compared with Buddhist Discipline (Vinaya) Regulations). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(2), 89–118. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/465