การนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Taking Tourism Promotion Policy for Implementation : Case Study of Koh Samui District, Suratthani Province)

Authors

  • ประภัสสร โยธารักษ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Graduate School of Public Administration National Institute of Development Administration.

Keywords:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว นโยบายสาธารณะ, Policy Implementation, Tourism Promotion Policy, Public Policy

Abstract

การวิจัยเรื่อง การนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติ กรณีศึกษา อำเภอ
เกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี มุ่งศึกษาบริบทพื้นที่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบาย
ส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติ ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำนโยบายไป
ปฏิบัติ ตลอดจนการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการ
ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร การสังเกต
และการสัมภาษณ์ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า บริบทพื้นที่ของอำเภอเกาะสมุย มีเนื้อที่
ประมาณ 252 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเฉพาะเกาะสมุย มีเนื้อที่ 227 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่
เหลือเป็นพื้นที่ของเกาะต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย จำนวน 18 เกาะ มีประชากร จำนวน 62,529 คน
โดยมีประชากรแฝงจำนวนมากที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ จากสภาพภูมิประเทศที่มีลักษณะ
เป็นเกาะและมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติประกอบกับศิลปวัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่นและอัธยาศัยไมตรีของผู้คนในชุมชนที่สืบทอดเชื่อมโยงความเป็น
เกาะสมุยมาแต่โบราณกาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นมนต์เสน่ห์ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว
ทำให้เกาะสมุยได้รับการยกย่องจากนักท่องเที่ยวว่าเป็นสวรรค์กลางอ่าวและเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวขึ้นชื่อระดับโลกและเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักที่สร้างรายได้และสร้างชื่อเสียง

ให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีและประเทศไทย จึงเกิดนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจและกระจายรายได้ให้แก่ประชากรในท้องถิ่น โดยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติ ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสูงสุด
ของท้องถิ่น ความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ความชัดเจนและความ
เหมาะสมของระเบียบปฏิบัติ ระบบงบประมาณ ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทางการตลาด
ความร่วมมือของผู้ประกอบการในพื้นที่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ระบบ
คมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในพื้นที่ นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นจะส่งผล
ต่อความสำเร็จของนโยบายแล้ว การนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติเปรียบเสมือน
ดาบสองคม คือ ทำให้เกิดทั้งผลลัพธ์และผลกระทบต่ออำเภอเกาะสมุยในหลายด้าน
ผลลัพธ์ ประการแรก ระบบเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการสร้าง
อาชีพสร้างรายได้ กระจายรายได้และผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชน ประการที่สอง
สังคมและชุมชนมีการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการศึกษาภาษา
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประการที่สาม ประชาชนมีจิตสำนึก
และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้มีสภาพ
ภูมิทัศน์ที่สวยงาม ผลกระทบ ประการแรก ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวทำให้ค่าครองชีพของประชนในพื้นที่เกาะสมุยเพิ่มสูงขึ้น ราคาสินค้าและบริการ
แพงขึ้น ประการที่สอง ผลกระทบด้านสังคม ผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวที่เป็นผลให้มีจำนวนประชากรในเกาะสมุยหนาแน่น และมีประชากรแฝง
เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบสาธารณูปโภคมีบริการไม่เพียงพอ การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย
ทำได้ยากขึ้น และประการที่สาม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดการทำธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม อาทิ การลักลอบ
ปล่อยนํ้าเสียลงสู่ทะเล การขุดเจาะหน้าดิน การบุกรุกที่ดินสาธารณะ จำนวนขยะของเสีย
เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดมลภาวะที่ทำลายสุขภาพชุมชน

The study aimed to investigate geographical, demographic and cultural
context of Koh Samui District, factors influencing the implementation of tourism promotion policy, positive and negative impacts of the implementation, as well as policy and practical guidance to promote tourism. Quantitative and qualitative research methods were employed in this study. A questionnaire was used to collect quantitative data while document research, observation and interviews were used to collect qualitative data. The investigation revealed that KohSamui District has an area of 252 square kilometers. The island of KohSamui has an area of 227 square kilometers. The rest of the district covers other 18 small islands nearby. The district has a population of 62,529 people (Surat Thani Statistical Office, 2015). KohSamui District is abundant in natural and cultural resources. The authenticity of very long tradition and hospitality of the people in the community have attracted thousands of tourists from around the world. This so - called “a paradise in the sea” is a world - class island destination and its tourism is a major source of income for Surat Thani Province and Thailand. Hence, a tourism promotion policy was developed to boost economic growth and distribute wealth to local people. It was found that the factors influencing the implementation of the tourism promotion policy were leadership of the chief executives of the local authorities, capacity of tourism personnel, clarity and suitability of the regulations, budget, efficiency of marketing strategies, cooperation of local businesses, safety of life and property, transportation and infrastructure. The implementation of the tourism promotion policy was like a double - edged sword causing both positive and negative impacts on the local community. The policy gave positive economic, social, and environmental impacts to the community. First, Economically, the policy encouraged rapid economic growth, created more jobs and generated income to local people. Second, socially, it helped the community to put more emphasis on continued learning and education as well as embracing language learning for the ASEAN community. Thirdly, the community was environmentally aware and they participated in environmental conservation while improving on the physical appearance of the tourist attractions. On the other hand, the policy also had negative economic, social, and environmental impacts. Firstly, the economic growth affected the cost of living leaving the locals with more expensive goods and services. Secondly, the expansion of the tourism industry resulted in high density of population as well as an increase of non - registered population. Consequently, there was inadequacy of the public services, and it also put the community safety under pressure. Thirdly, in terms of the environment, the tourism industry caused several environmental impacts such as discharge of sewage water into the sea, topsoil stripping, encroachment on public land and an increase in waste volumes.These had an impact on the health of individuals and the community.

Downloads

Published

2016-07-26

How to Cite

โยธารักษ์ ป. (2016). การนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (Taking Tourism Promotion Policy for Implementation : Case Study of Koh Samui District, Suratthani Province). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(2), 119–140. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/466