จับต้องได้ - จับต้องไม่ได้ : ความไม่หลากหลาย ในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม (Tangible and Intangible : Similarities among the Diversities of the Cultural Heritage)

Authors

  • ชาคริต สิทธิฤทธิ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม Department of Cultural Promotion.

Keywords:

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ความไม่หลากหลายในความหลากหลาย, Tangible Cultural Heritage, Intangible Cultural Heritage, Insularity within diversity

Abstract

มรดกทางวัฒนธรรม เป็นรูปแบบของวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า
ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตและได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง มรดกทางวัฒนธรรม
บางอย่างกลายเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของ
คนในสังคมสืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน มรดกทางวัฒนธรรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี
งานจิตรกรรม เป็นต้น และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือที่เรียกว่า มรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้แก่ ภาษา ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม เป็นต้น แม้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรมทั้งสองประเภทจะมีความหลากหลายในตัวเองอยู่มากก็ตาม แต่ก็
ไม่สามารถแบ่งแยกเนื้อหางานทั้งสองประเภทได้ชัดเจนเด็ดขาด เนื่องจากมรดก
ทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานจับต้องได้ซึ่งเป็นรูปธรรมนั้นมีพื้นฐานมาจาก
แนวความคิด ความเชื่อและทักษะเทคนิคอันเป็นลักษณะนามธรรมของงานจับต้องไม่ได้
ลักษณะดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่หลากหลายในความหลากหลายของมรดกทาง
วัฒนธรรมขึ้น แสดงให้เห็นความโดดเด่นของพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับ
และถ่ายทอดสืบมา อันจะนำไปสู่การคุ้มครองและสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมสืบไป

Cultural heritage is a type of culture, which must have enough
identities and values to be preserved from generation to generation. Some
cultural heritages have become the important cultural tradition and the society worthiness. The cultural heritage can be divided into tangible and intangible. The tangible heritage is referred to the material culture, for instance, artifacts, ancient monuments, archaeological sites and paintings. In contrast, the intangible heritage is the immaterial culture such as language, performing arts. However, it could not completely separate the tangible and the intangible heritage from the close relation. Both heritages together have been presented the social cultures from a long history. For example, it could be said that the tangible heritage basically built by an influence of traditions, beliefs, and arts which are
parts of intangible heritage. Even some heritages have been put in the different categories, some similarities can be shown by its conception. This represents a notability characteristic of the cultural heritage which lead to a protection from the society from time to time.

 

Downloads

Published

2016-07-26

How to Cite

สิทธิฤทธิ์ ช. (2016). จับต้องได้ - จับต้องไม่ได้ : ความไม่หลากหลาย ในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม (Tangible and Intangible : Similarities among the Diversities of the Cultural Heritage). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(2), 141–160. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/467