โรฮีนจา : ชาติพันธุ์และความเปลือยเปล่าของคนไร้รัฐ (Rohingyas : Ethnic and Refugees)

Authors

  • สมทรง นุ่มนวล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Faculty of Humanities and Social Sciences, Suratthani Rajabhat University

Keywords:

โรฮีนจา ชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ, Rohingya, Ethnic, Refugee

Abstract

รากเหง้าของชาวโรฮีนจาแต่เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่รัฐอารกันประเทศพม่า เมื่อเกิด
ความขัดแย้ง จึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บังกลาเทศ แต่ส่วนใหญ่ยังคงปักหลักอยู่ในพม่า
ชาวโรฮีนจาได้รับความเดือดร้อน ถูกรังเกียจและกีดกันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะความ
ขัดแย้งกับรัฐบาลทหารพม่า ชาวโรฮีนจาถูกกีดกันออกจากความเป็นพลเมืองของพม่า
ไม่ได้รับรองสัญชาติพม่า อาศัยอยู่ในประเทศแบบไร้ตัวตน ไม่มีสิทธิ์มีเสียงที่จะกระทำการ
ใด ๆ เพราะกฎหมายไม่คุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ ชาวโรฮีนจาจึงตัดสินใจอพยพออกจาก
ประเทศพม่าเพื่อเดินทางไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเหมือนกับกลุ่มตน อาทิ
ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย มีประเทศไทยเป็นทางผ่าน เมื่อชาวโรฮีนจาที่อพยพจากพม่า
หนีเข้ามาหลบซ่อนตัวในประเทศไทย ตำรวจของไทยสามารถจับกุมตัวไว้ได้ ที่สำคัญ เมื่อ
สาวลึกลงไปพบว่ามีกลุ่มอิทธิพลค้ามนุษย์ข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้องกับการอพยพของชาว
โรฮีนจาด้วย กระทั่งเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และ
ความเป็นธรรมของชาวโรฮีนจาที่รัฐบาลพม่าและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวพาดพิงถึงประเทศอังกฤษในฐานะที่พม่าเคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
สมัยยุคล่าอาณานิคม แต่อังกฤษปฏิเสธความรับผิดชอบโดยเพิกเฉยต่อกระแสข่าว แม้แต่
สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียพยายามที่จะยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือชาวโรฮีนจา
กระทั่งประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัด “การประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ
ในมหาสมุทรอินเดีย” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมกันหา
แนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนสำหรับผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่ตกค้างกลางมหาสมุทร
อินเดีย ที่สำคัญปัญหาลักษณะนี้มิใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ
แต่เป็นปัญหาที่นานาประเทศจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อหามาตรการช่วยเหลือ
พร้อมทั้งการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของหลักการแบ่งเบาภาระระหว่างประเทศ

Historically, Rohingyas were from the Arakan State in Myanmar.
When an ethnic conflict occurred, some of them immigrated to Bangladesh. Most Rohingyas that stayed in Myanmar have been in conflicts with and despised by other various ethnic groups in Myanmar, a country which is constituted of approximately 135 ethnic groups. The intense conflict between Rohingyas and the military junta and the subsequent government led to a crisis when Rohingyas’ Burmese citizenship was denied by the government. Living without any civil rights and a lack of legal protection, Rohingyas were vulnerable to attacks from other ethnic groups, in particular, as they were Muslim living in a country where most other ethnic groups were Buddhist. Therefore, Rohingyas
decided to leave Myanmar and tried to flee to a neighboring Muslim country such as Malaysia.Thailand was unavoidably used as a route of
immigration. Rohingyas’ crisis was revealed to the international media when a large group of Rohingyas was caught by the Thai authority in 2015. The case did not only involve a problem of refugees but also human trafficking. It specifically created widespread controversial discussions and concerns regarding immigration, human rights, and equity where it was pointed out that Myanmar, as a country of origin, needed to take responsibility in solving this problem. At the same time, it was suggested that the British Empire had a strong involvement in Rohingyas’ immigration in the British colonial era and that the United Kingdom should also take responsibility. However, the incident was not taken notice of by the British government whilst the USA and Australia expressed their concerns and viewed the incident as part of international efforts. In 29th May 2015, the ASEAN community held an international conference “United Nations Convention against Transnational Organized Crime - UNTOC”at the Thai Ministry of Foreign Affair Office, Bangkok, Thailand,
where more than 17 countries attended. The conference aimed to find immediate solutions for around 7,000 refugees stranded in the India Ocean waiting for help. The incident clearly indicated that a refugee problem as such does not concern only one country and its effects are widespread. Its intertwining problem needs international efforts and long - term commitment.

Downloads

Published

2016-07-26

How to Cite

นุ่มนวล ส. (2016). โรฮีนจา : ชาติพันธุ์และความเปลือยเปล่าของคนไร้รัฐ (Rohingyas : Ethnic and Refugees). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(2), 217–236. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/470