แม่โพสพ : ทุนทางสังคมกับความหมายที่เปลี่ยนไป (Mae Posop - the Goddess of Rice: Social Capital and the Changed Meaning)

Authors

  • พญอม จันนิ่ม Suratthni Rajabhat University

Keywords:

ทุนทางวังคม, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, แม่โพสพ, Mae Posop

Abstract


แม่โพสพ หรือ แม่โภควดี เป็นนามที่หมายถึงเทวนารี คือเทพที่เป็นสัญลักษณ์ของข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวโลกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนามโภควดีนั้น มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าระบบเศรษฐกิจค่อนข้างชัดเจน ตำนานแม่โพสพจึงมีลักษณะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีสารัตถะแทรกแฝงอยู่ ซึ่งถ้าถอดความออกมา ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำนา และการบริหารจัดการข้าวเป็นอย่างดี ดังเช่น
1. การปลูกฝังความสำนึกให้เห็นคุณค่าของข้าว เพื่อให้ช่วยกันถนอมรักษา
2. การกำหนดกระบวนการที่สมบูรณ์แบบในการสร้างผลผลิตข้าว
3. การบริหารจัดการข้าว ตามวิธีภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรส่งเสริมเป็นทางเลือกนั้น ถ้าเป็นแนวทางที่ได้ผลก็อาจนำไปสู่ทางหลัก หรือเป็นนโยบายระดับชาติได้
อนึ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้านที่แทรกอยู่ในตำนานแม่โพสพนั้น เป็นต้นทุนทางสังคมที่สืบทอดมายาวนาน ซึ่งสามารถจะนำไปพัฒนาสังคมแม้ในด้านอื่นๆ ให้เจริญก้าวหน้าและยั่งยืนได้

   Mae Posop or Mae Pokawadi is the name of a goodness who symbolizes the rice, the main food of the world population. The meaning of the name Mae
Pokawadi is clearly comparable to the definition of economic system

  The myth of Mae Posop is a folk wisdom withessential implication. This
tacit knowledge, if properly articulated, will be use ful to rice farming and
managing. Examples include:
 1. The implantation of rice awareness for its value and conservation;
 2. The definition of a perfect process in rice production;
 3. The rice managing by folk wisdom that is promoted as an alternative
choice, if effectively executed, might be used as a principal option or a national policy.
 The tacit knowledge in the myth of Mae Posop is a long standing social
capital and may also be used for social development in other areas in a
sustainable fashion.

 

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

จันนิ่ม พ. (2014). แม่โพสพ : ทุนทางสังคมกับความหมายที่เปลี่ยนไป (Mae Posop - the Goddess of Rice: Social Capital and the Changed Meaning). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 4(2), 49–76. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/50