วสันตดิลกฉันท์ : นาฏการและการเปลี่ยนแปลง (Vasantatilakachan: Dramatization and Changes)
Keywords:
วสันตดิลกฉันท์, นาฏการ, การเปลี่ยนแปลง, Vasantatilakachan, Dramatization, ChangesAbstract
วสันตดิลกฉันท์ เป็นหนึ่งในฉันท์ 108 ชนิด เนื่องจากลักษณะบังคับของ
ฉันทลักษณ์ทำให้ฉันท์ชนิดนี้มีตำแหน่งการวางเสียงหนักเบาที่ลงตัว อ่านแล้วให้จังหวะ
เรื่อย ๆ ไพเราะรื่นหู จึงมีผู้นิยมแต่งฉันท์ชนิดนี้มาก จากการศึกษาการใช้วสันตดิลกฉันท์ใน
การแสดงนาฏการด้านต่าง ๆ ได้ข้อสรุปว่า วสันตดิลกฉันท์ใช้แต่งเพื่อแสดงนาฏการด้าน
ความงาม นาฏการด้านความรัก นาฏการด้านของสูง และนาฏการด้านการบรรยาย
เหตุการณ์ต่าง ๆ จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของวสันตดิลกฉันท์ได้ข้อสรุปว่า ตั้งแต่
อดีตถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลง 2 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงด้านฉันทลักษณ์
และการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหา การเปลี่ยนแปลงด้านฉันทลักษณ์ของวสันตดิลกฉันท์
ที่ปรากฏในวรรณกรรมยุคแรก ๆ ไม่เคร่งครัดด้านฉันทลักษณ์ เนื่องจากไทยได้แบบการ
แต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์จากอินเดีย ต้นแบบมาจากฉันท์ภาษามคธที่ปรากฏในคัมภีร์
วุตโตทัย “วสันตดิลกคาถา” อันมีลักษณะบังคับตำแหน่งครุ ลหุ และจำนวนคำที่ชัดเจน
แต่เมื่อไทยรับมาใช้ได้ดัดแปลงให้มีเสียงสัมผัสคล้องจอง ทำให้การแต่งวสันตดิลกฉันท์
ไม่ตรงตามลักษณะของฉันทลักษณ์เดิม ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันมุ่งการ
แต่งที่เคร่งครัดให้ตรงตามฉันทลักษณ์ จึงทำให้มีผู้แต่งวสันตดิลกฉันท์จำนวนน้อย
ส่วนการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาในยุคแรก ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงอารมณ์ความรู้สึก
เป็นเรื่องเพ้อฝันจินตนาการ แต่ภายหลังจากได้รับอิทธิพลทางตะวันตกทำให้การแต่งมี
เนื้อหาเน้นการเสนอความรู้ ข้อคิด และสะท้อนภาพสังคม
Vasantatilakachan was among the 108 types. Since the forcing
characteristics of this kind of verse were to adequately position the hard and
soft voices that gave the wonderful reading feeling. Therefore, so many people
love to write on this kind of verse. From the study, Vasantatilakachan was
applied in any of dramatization performance; the summary was that
Vasantatilakachan was selected to be written for the dramatization related to
beauty performance, love, luxury things, and descriptions of any events. From
the study on changes in Vasantatilakachan, it can be concluded that the
studies of Vasantatilakachan from the past until present had two forms of
changes. First, changes in verse characteristics and changes in its content ;
that is changes in the form of verse in Vasantatilakachan. Vasantatilakachan
as seen from the very first era of literature seemed not strict on the verse
characteristic since Thais took the form of poetry from India where it was
originated from Magadha language verse in which presented in the Vuttodaja
scripture. “Vasantatilaka magic” was the Sakkarichan or verse with the forcing
characteristics to position the hard and soft tone and the definite words.
Crucially, when Thai received this to use, we adjusted qcannot be direct with
Chan. It was quite difficult since the writer must have knowledge and real
researching before writing the poetry. Next in Rattanakosin era till recent; there
was the strict measure for writing according to the types of verse, therefore,
there was less Vasantatilakachan. Vasantatilakachan in the very first period,
the content focuses on the emotion and feeling, fantasy and imagination.
After receiving the western influence, the contextual writing was concentrated
on knowledge idea and social reflection presentation.