กลวิธีทางภาษาที่คู่สนทนาใช้ยุติการสนทนา ที่มีความขัดแย้งในภาษาไทย (Linguistic Strategies Used for Terminating Conflict Talk in Thai Interactions)
Keywords:
การสนทนาที่มีความขัดแย้ง, วัจนปฏิบัติศาสตร์, Conflict talk, PragmaticsAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่คู่สนทนาใช้ยุติการสนทนา
ที่มีความขัดแย้งในภาษาไทย และอภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่มี
ผลต่อการเลือกใช้กลวิธีดังกล่าว โดยใช้แนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics) และ
แนวคิดสนทนาวิเคราะห์ (conversation analysis) ข้อมูลที่ใช้ศึกษา คือ บทสนทนา
ในชีวิตจริง จำนวน 151 บท ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ยุติการสนทนา
ที่มีความขัดแย้งมี 6 กลวิธี คือ การออกจากสถานการณ์ การใช้อำนาจ การยอมตาม
การเปลี่ยนประเด็นการสนทนา การประนีประนอม และการขอความช่วยเหลือจากบุคคล
ที่สาม ส่วนปัจจัยพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่น่าจะมีผลต่อการเลือกใช้กลวิธียุติ
การสนทนาที่มีความขัดแย้งของผู้พูดภาษาไทย คือ แนวคิดทางพุทธศาสนา และแนวคิด
เรื่อง “อาวุโส”
This study aims at examining linguistic strategies used to terminate
conflict talk in Thai and providing a discussion on socio – cultural factors that
might influence the choice of linguistic strategies as such. The framework
adopted here are pragmatic and conversation analysis. The elicited data in the
study include 151 daily conversations. The results of the study reveal that Thai
speakers adopt 6 strategies to terminate conflict talk. That is, withdrawal;
domination; submission; stand - off; compromise and request third-party intervention.
It is proposed here that Buddhism concept and the concept of seniority are
factors that might have influence upon strategy selection.