การศึกษาภาษาระดับข้อความและการใช้ประโยชน์ ด้านการวิจัยทางภาษาไทย (Discourse Analysis and Research Utilization in Thai Language)
Keywords:
ภาษาระดับข้อความ, การวิเคราะห์ข้อความ, กระบวนการทางภาษา, โครงสร้างภาษา, Discourse, Discourse Analysis, Language process, Language structureAbstract
การศึกษาภาษาระดับข้อความ (Discourse Analysis) เป็นการศึกษาภาษา
ระดับสูงกว่าประโยค มี 2 ลักษณะ คือ 1) เน้นการศึกษากระบวนการทางภาษาในการสื่อ
ความหมายด้านรูปแบบและความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
ลักษณะที่ 2) เน้นการศึกษากระบวนการทางสังคม โดยการบรรยายจากกระบวนการทาง
ภาษาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น ๆ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอวิธีการศึกษาภาษา
ระดับข้อความ (Discourse Analysis) เน้นมิติทางภาษาศาสตร์เป็นหลัก ว่าด้วยเรื่อง
ความหมาย แนวคิดทฤษฎี วิธีการวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางภาษาไทย
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ตัวบท (Text) หรือวรรณกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ มีการ
นำเสนอแนวทางการวิจัยประกอบเพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทางภาษาที่เกี่ยวข้อง
อย่างมีปฏิสัมพันธ์กับกระบวนการทางสังคม ซึ่งพอจะขีดแบ่งความทับซ้อนระหว่าง
การศึกษาภาษาระดับข้อความในมิติทางภาษาศาสตร์ และมิติทางสังคมศาสตร์ได้อย่าง
กระจ่างชัดมากขึ้น
The study of discourse (Discourse Analysis) is a higher - level
language’s study form than a sentence. It consists of two aspects: 1) focusing on
language processing of meaning, form and knowledge. The ability to use is
linked to the second aspect i.e. 2) emphasizing social processes by the
description of language processing that occurs in each society. The purpose of
this issue is to present the methods of discourse study, focused on linguistic
dimension, in connection with meaning, ideas, theories, analysis methods and
apply them to the Thai language research. It is useful for textual analysis or
other kinds of literature. However, the research was also presented to illustrate
the association of language processing and social interaction. This would
divide the overlapping between discourse study of linguistic dimension and
social dimension more apparently.