การพัฒนาธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี : ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม สู่การผลิตซํ้าทางสังคม (Good Governance Development of Tha - Kham Municipality, Phunphin District, Suratthani Province: Discourse Practice to Social Reprodu
Keywords:
การพัฒนาธรรมาภิบาล, ภาคปฏิบัติการวาทกรรม, การผลิตซํ้าทางสังคม, Good governance development, Discourse practice, Social ReproductionAbstract
การพัฒนาธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี : ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมสู่การผลิตซํ้าทางสังคม มุ่งศึกษาถึงการสร้าง
วาทกรรมธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าข้าม และกระบวนการผลิตซํ้าทางสังคมในภาค
ปฏิบัติการทางวาทกรรม พร้อมกับภาคปฏิบัติการทางสังคมของวาทกรรมธรรมาภิบาล
ของเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ด้วยวิธีวิทยาการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) ของแฟร์คลาฟ โดยการ
สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์
วาทกรรม โดยวิเคราะห์จากตัวบทภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม และภาคปฏิบัติการทางสังคม
ผลการวิจัยพบว่าการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าข้าม
ดำเนินการก่อนที่รัฐบาลประกาศให้ทุกหน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล
เนื่องจากสังคมทั่วไปมองภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่แสวงหา
ผลประโยชน์ จึงต้องการลบล้างภาพลักษณ์ดังกล่าวด้วยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
ความโดดเด่นของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าข้าม
คือ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการบริหารงาน โดยการเปิดโอกาส
ให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐรวมถึงพนักงานเทศบาลได้แสดงความคิดเห็น
ลงมือปฏิบัติและประเมินผลการดำเนินงานในประเด็นต่าง ๆ นำมาสู่การสร้างวัฒนธรรม
องค์การด้านการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง มีการบริหารงานที่โปร่งใส ส่งผลให้เทศบาลเมือง
ท่าข้ามประสบความสำเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีการผลิตซํ้าและเผยแพร่
ผ่านทางวัฒนธรรมองค์การ ผู้นำชุมชนและสื่อต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ วารสารเทศบาลเมืองท่าข้าม
เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ
แต่ละบริบทของแต่ละหน่วยงาน
This research aims to study the discourse practices and social practices
of Tha - Kham Municipality. This study was a qualitative research by discourse
analysis of Fairclough Norman. The in - depth interview was adapted to interview
15 informants. An analysis of data was conducted by discourse, text, discursive
practices, and social practice.
The result shows that the good governance of Tha - Kham Municipality
had been adapted to this organization before the government launched the
campaign. The outstanding of Tha - Kham Municipality emphasized on the
co - operation from many sectors. People, Private sectors, Public sectors, the
staff can share the ideas. These lead to the strength of organizational culture.
Tha - Kham Municipality was successful on good governance. A transparent
management leads to a successful management of Tha - Kham Municipality. It
was announced by cultural organizations, community leaders and other press.