การศึกษา : กลไกสำคัญสำหรับแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทางชาติพันธุ์ในมาเลเซียอย่างมีเอกภาพ (Education: A Crucial Mechanism for Ethnic Conflict Resolution and Unity in Malaysia)
Keywords:
มาเลเซีย, เอกภาพ, การศึกษา, ชาติพันธุ์, Malaysia, Unity, Education, EthnicAbstract
แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้วก็ตาม แต่กลิ่นอายของประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คนหลากหลายที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็น “เอกภาพ” ในมาเลเซีย
ยังคงเป็นเสน่ห์ชวนให้ศึกษาค้นคว้าในเชิงลึก โดยเฉพาะปัญหาของพหุสังคมอันเกิดจาก
การอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม โดยมีประเด็น
การเมืองและผลประโยชน์แทรกซึมอยู่ในทุกวงการ ทุกสาขาวิชาชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งปัญหาลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียแต่พบเห็นได้ทั่วโลก ตามการพลวัตของ
วัฒนธรรมและการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน ปัญหาดังกล่าวค่อย ๆ บ่มเพาะความขัดแย้ง
ขึ้นมาจนกระทั่งเกิดจลาจลเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 รัฐบาลมาเลเซียในขณะนั้น
แก้ปัญหานี้โดยใช้ “การศึกษา” เป็นตัวประสานเพื่อลดทอนความขัดแย้งทางการเมืองที่
เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้งนี้ “ภาษา” คือ กุญแจสำคัญ
ที่รัฐบาลมาเลเซียใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้าง “เอกภาพ” ให้เกิดขึ้นในมาเลเซีย
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มาเลเซีย 2020 ที่ว่า มาเลเซีย คือ หนึ่งเดียวกัน
Although it has lasted for nearly 20 years, the ambience of history and
traditional cultures of people from various backgrounds who had been living
with “unity” in Malaysia still attracts academics to search for an in - depth study.
In particular, the article extensively discusses the problems in a plural society
which resulted from the coexistence of people from different races, languages,
and cultures where political interference and conflicts of interest had unavoidably
penetrated in every aspect of the society. This kind of problems did not occur
only in Malaysia but was universally found as a result of cultural dynamics and
labour migration. The conflicts had been incubated and finally exploded into a
riot on the 13th May, 1969. To solve the problem, the Malaysian government
used “education” as a tool to reduce political conflicts and to aim at human
capital development. “Language” was used as a key to communicate and
create “unity” in Malaysia. This concurs with the country’s Vision 2020 of a
united Malaysian nation.