Exploring the Mandalas: Preliminary Observations on Peer Polity Interaction and Socio - Political Development in Early Maritime Southeast Asia (ค้นหามัณฑละ:ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของรัฐ และพัฒนาการทางสังคม - การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉี)

Authors

  • วัณณสาส์น นุ่นสุข ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตร์ศิลป์

Keywords:

Mandala, Peer Polity Interaction, Maritime Southeast Asia, มัณฑละ, การปฏิสัมพันธ์ของรัฐที่เท่าเทียมกัน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ภาคพื้นสมุทร

Abstract

This article examines inter - regional trade and social interaction as
the process that encouraged socio - political similarities in maritime Asian polities
in the early historic period (c. the fifth to the tenth centuries AD) using the
concept of peer polity interaction proposed by Colin Renfrew. This article argues
that not only did the early maritime Southeast Asian polities share similar
material cultures such as artifacts, statues, and architecture, but they also
shared similar political organizations, which has been called the mandala political
system. Archaeological and historical evidence from a variety of localities in
maritime Southeast Asia are examined in order to offer a general overview of
cultural and structural homologies in this region, without ignoring the fact that
each culture has its own uniqueness as well.

บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์ที่จะวิเคราะห์การค้าและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ข้ามภูมิภาคในฐานะที่เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้เกิดความคล้ายคลึงกันในรูปแบบ
ทางการเมืองและสังคมในหมู่รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรในสมัย
ประวัติศาสตร์ตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 15) โดยใช้แนวคิดการปฏิสัมพันธ์ของ
รัฐที่เท่าเทียมกันของโคลินเรนฟรู บทความฉบับนี้เสนอว่า รัฐรุ่นต้นในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรไม่เพียงแต่มีความคล้ายคลึงกันในเชิงวัตถุวัฒนธรรม เช่น โบราณวัตถุ
รูปเคารพ และสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังมีความคล้ายคลึงกันในเชิงโครงสร้างทางการ
เมืองในภาพรวมที่อาจจะเรียกได้ว่า ระบบมัณฑละ ที่เสนอโดยโอลิเวอร์โวล์เตอร์อีกด้วย
แม้จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่ก็ตาม บทความฉบับนี้ได้ใช้หลักฐานทาง
โบราณคดีและประวัติศาสตร์จากแหล่งที่มาที่หลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาคพื้นสมุทร เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันในทางวัฒนธรรมของ
ภูมิภาคแห่งนี้ โดยมิได้ละเลยข้อเท็จจริงที่แต่ละวัฒนธรรมก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง
ในรายละเอียดด้วยเช่นกัน

Downloads

Published

2016-12-19

How to Cite

นุ่นสุข ว. (2016). Exploring the Mandalas: Preliminary Observations on Peer Polity Interaction and Socio - Political Development in Early Maritime Southeast Asia (ค้นหามัณฑละ:ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของรัฐ และพัฒนาการทางสังคม - การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉี). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 8(3), 215–240. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/534