ปัจจัยที่ทรงอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (Factors Influenced towards the Politicalparticipation of People in Dusit District, Bangkok.)
Keywords:
ประชาชนเขตดุสิต, ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมือง, ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และปัจจัยที่ทรงอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยมีเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น(Probability Sampling) คือ แบบแบ่งชั้น(Stratified Random Sampling) เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างได้อย่างครอบคลุมทุกแขวง ทุกชุมชน และแบบง่าย(Simple Random Sampling) สำหรับเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 400 คน และใช้เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น(Non-Probability Sampling) คือ แบบเจาะจง (Purposive Sampling) สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชน 44 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) สถิติเชิงอนุมาน(Inductive Statistics) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content analysis) ผลการศึกษาดังนี้ ประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ส่วนรายด้าน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่เพียง 2 ระดับเท่านั้นได้แก่ ระดับปานกลาง และต่ำ ซึ่งรายด้านที่อยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง และด้านการสนทนาเรื่องการเมือง ส่วนรายด้านที่อยู่ระดับต่ำ ได้แก่ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ด้านการติดต่อกับนักการเมือง และด้านการเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมือง ต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และสถานภาพ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม บทบาทหน้าที่ในครอบครัว และบทบาทหน้าที่ในชุมชน ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเมือง ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และการพัฒนาทางการเมือง ปัจจัยทางจิตวิทยาทางการเมือง ได้แก่ ความสนใจทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง และการกล่อมเกลาทางการเมือง
The study aims: 1) to find the level of participation in politics, 2) to examine factors influenced participation in politics of people in Dusit District, Bangkok. This is a mixed method of quantitative and qualitative research. The instruments used to collect data were questionnaires and interviews. The technique of a probability sampling, a stratified random sampling is used to collect data. The samples were selected from every community in Dusit District. A simple Random Sampling was used to collect data with questionnaires for 400 people. The non-probability
sampling or the purposive sampling was used for in-depth interviews with 44 community leaders. The researcher analyzed the data by using descriptive statistic, inductive statistics, and content analysis. The findings are that: Dusit people participate in politics as a whole but at low levels; there are only two groups of moderate and low income who participate in politics. The moderate level groups participate in voting, tracking the political news, and discussion forums, while the low level group participates in political gathering, dealing with politicians, and attending political activities with political parties. Other political factors that influence the political participation of Dusit people are: 1) personal factors, such as age, and social status, 2) economic factors, such as occupation, membership of social
groups, family role, and community role, 3) environmental factors, include political awareness and political news, and political development, 4) political psychological factors, such as political interest, political behavior, and Political Socialization. The
predicted politic participation includes four chronological factors: political interests, the perception of politics, fundamental values of democratic politics, and political environment.