ทวิภาวะ (Dualism)

Authors

  • ประจักษ์ สายแสง อาจารย์ประจำภาควิชาคติชนวิทยา ปรัชญา และศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เจือง ถิ หั่ง อาจารย์ประจำภาคหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Keywords:

ทวิภาวะ, Dualism

Abstract

วิจัยนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งประสงค์ให้ประจักษ์สังกัปปะของ “ทวิภาวะ” — หลักแห่ง
คตู่ รงกันข้ามที่ประดุงสากลโลกตั้งแต่บรรพกาลจวบเท่าปัจจุบันกาล ทวิภาวะอันมีลักษณะ
ความขัดแย้งที่ผสมผสานไม่เพียงเป็นสัญชาตญาณของสัตวะชั้นตํ่าเท่านั้น แต่ทว่ายังเป็นที่
ประจักษ์ทั้งในสมบูรณเทพและอัฒเทพเฉกเช่นเดียวกัน องค์พระมหาศิวะเจ้า และแม้
กระทั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจำเพาะอย่างยิ่งในมุขปาฐประเพณีของทิเบต
ต่างได้สำแดงสภาวะที่ทรงมหิทธิฤทธิ์ และสภาวะแห่งความเมตตากรุณาเป็นที่แจ้ง บันดล
ให้โลกกระจ่างชัดถึงวาระที่ทรงพิชิต และทรงทำลาย หรือวาระที่พระองค์ทรงประคับประคอง
และทรงเกื้อหนุน การศึกษาครั้งนี้ยังผูกสัมพันธ์ไปถึงเทวลักษณ์แห่งพระกามะ - เทพเจา้
แห่งความรัก ทั้งในแง่ของรูปเทวะและอรูปเทวะ ขณะที่พลานุภาพของพระองค์ก็ทรงปรากฏ
เป็นมหันตะ ทั้งในวาระแห่งการประสิทธิ์คุณ และในวาระแห่งการประทานโทษ

ผู้นิพนธ์ยังได้วินิจฉัยบุคลิกลักษณ์ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ตลอดจนปริวรรตแห่ง
เรือนร่างกายของบุรุษเพศ และสตรีเพศที่พรรณนาไว้ในหนังสือ “ซิมโพเซียม” ของเพลโต
และจากภารตปกรณัมหลายฉบับอย่างพร้อมเพรียงกัน

ครั้นเพ่งพินิจพิจารณาไปแล้วไซร้ อัตลักษณ์ของคู่ตรงกันข้าม และลักษณะความ
ขัดแย้งที่ผสมผสาน น่าจะเป็นพระประสงค์ของพระผู้สร้าง ตลอดทั้งท่านคุรุผู้ทรงอำนาจ

สูงสุด ในอันที่จะพรํ่าสอนให้เราแลเห็นความสำคัญของสัจการ และวิจักษณาการแห่ง
ทวิภาวะ

ถ้าแม้นว่าศานติสุขเป็นปลายวิถีแห่งชีวิตนี้ฉันใด ความประสานสัมพันธ์ และการ
รังสรรค์ความประสานสัมพันธ์ก็เป็นอันสมควรแสวงหาสำหรับมนุษย์เยี่ยงเรา ๆ ฉันนั้น
แลท้ายที่สุด ถ้าหากเราปรารถนาการปลดเปลื้องจากความผูกพันทางโลก — แลด้วยประการ
ฉะนี้จึ่งประทับอยู่เหนือโลกียวิสัยทั้งปวง — เราจักทะยานอยากความรักแห่งพระเป็นเจ้า
อันเลยพ้นวิถีที่พระหัตถาของพระกามเทพจะเอื้อมไปถึง ซึ่งก็คือ การบรรลุสภาวะแห่ง
“การวางอุเบกขาอันศักดิ์สิทธิ์” หั้นแล

The article aims to elucidate the concept of “Dualism”, the two opposite
principles that have been nurtured from the primeval time. The paradoxical
nature of dualism is present not only in the instinct of lowly creatures, but also
in the fully divine and the semi—divine. Both Lord Siva and even the Lord Buddha
especially in the Tibetan tradition exhibit both the fierceful and the benign outlooks,
in order to manifest to the world, as to when to subdue and destroy, or when
to subserve and encourage. This study also deals with the personality of Kama,
the God of Love. Either with form or without, his power is overwhelming. And
it can be used both for negative and positive purposes.

The writers also explore the opposing personality traits and transformations
of male and female bodies, which are depicted in Plato’s Symposium and in
Indian myths.

All in all, the identity of opposites and their paradox probably are
meant by the Supreme Creator and Teacher to teach us the significance of the
understanding and appreciation of dualism.

If peace be the goal of life, harmony and harmonization must be
sought after. And ultimately if we aim at liberation from the bondage of the
world, and thus transcending it, we would need a divine love that is beyond the
reach of Kama, achieving the state of “holy indifference”.

Downloads

Published

2017-04-21

How to Cite

สายแสง ป., & ถิ หั่ง เ. (2017). ทวิภาวะ (Dualism). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(1), 1–36. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/589