จากวิถีดั้งเดิมสู่วิถีของคนยุคใหม่ : ภาพสะท้อน การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยในวรรณกรรมเด็กชายเล (From the Traditional to the New Generation : A Reflection’s Change in Dek Chai Le (Sea Gypsy Kids : Literature of New Era))
Keywords:
เด็กชายเล, วิถีชาวใต้ดั้งเดิม, วิถีสมัยใหม่ของคนภาคใต้, Dek Chai Le (Sea Gypsy kids), Southerners traditional lifestyle, Southerners modern lifestyleAbstract
บทความนี้นำเสนอด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในชนบทภาคใต้ตามที่
ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนเรื่องเด็กชายเล ผู้แต่งเล่าถึงวิถีชีวิตของคนภาคใต้ที่เปลี่ยนไป
ตามยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ยุคดั้งเดิมที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย สมถะ สอดรับกับวิถีชุมชน
โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นแสดงรากเหง้าทางสังคมที่เป็นอัตลักษณ์ เมื่อระบบทุนนิยม
ที่มาพร้อมนโยบายพัฒนาประเทศได้แทรกซึมเข้าสู่ท้องถิ่นชนบท ระบบการผลิตของชุมชน
ก็เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อใช้เป็นเพื่อขาย ชาวบ้านจึงพึ่งปัจจัยภายนอกแทนการพึ่งพาตนเอง
วิถีชุมชนจึงอ่อนแอลง และเมื่อวิถีสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับความเป็นเมืองเข้าสู่ท้องถิ่นชนบท
คนชนบทก็รับวัฒนธรรมของคนเมืองมาใช้แล้วซึมซับกับสังคมบริโภคนิยมที่เชื่อกันว่าวัตถุ
สามารถสร้างความสุขให้กับชีวิตได้ ชาวบ้านจึงสรรหาวัตถุมาปรนเปรอชีวิต คนชนบท
จึงมีวิถีเหมือนคนเมือง ความเป็นสังคมชนบทจึงลดลง อัตลักษณ์ประจำถิ่นจึงหายไป
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าวรรณกรรมเรื่องเด็กชายเลไม่ได้ทำหน้าที่เพียงเป็นวรรณกรรมเยาวชน
ที่บอกเล่าความบริสุทธิ์ของเด็กชนบทที่เติบโตท่ามกลางครอบครัวที่อบอุ่นในชุมชน
ที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้มแข็ง แต่ยังได้สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นชนบทอันเนื่อง
มาจากการพัฒนาประเทศที่ไม่สอดรับกับวิถีชุมชนด้วย วรรณกรรมเรื่องเด็กชายเล
จึงมีคุณค่าในการสะท้อนสังคมทั้งยังทำหน้าที่เป็นปากเสียงแทนประชาชน พร้อมกันนี้
ก็เป็นตัวแทนในการเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดในท้องถิ่นชนบทว่าควรฟื้นฟูธรรมชาติ และวัฒนธรรมชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อให้คนในท้องถิ่นกลับมาพึ่งพาตนเองได้เหมือนเดิม
This article presents the social change which is taking place in the rural
southern area as seen on youth literature “Sea Gypsy kids”. The author wrote about
southerners lifestyle which changed by era. It was started from the original era when
people used the traditional simple life, peacefully and related to community way.
The local wisdom showed the root of social identity and when the capitalist system
accompanied by policies to develop countries has infiltrated into the rural, the
production in the community was changing from uses into sales and making people
turn to rely on external factors instead of self - reliance. As a result, the community
ways became weak. When the modern ways moved to rural area, rural people
obtained the urban culture and absorbed the social consumerism which believed that
an object gives people happiness. Rural people seek things to nourish their life.
Thus, rural people have the same lifestyle as urban. Rural lifestyle is reduced and
the rural identity is disappeared. From those reasons, we notice that the literature
“Sea Gypsy kids” is not serving simply as juvenile literature which tells the innocence
of rural kids growing among warm families in the strengthened cultural society but
reflects the problems caused from the development of country which is not related
to rural lifestyle. The literature “Sea Gypsy kids” is worthy in reflecting society and
also acts as a mouthpiece of the public. In addition, it is presenting the proposed
solution to the problem of rural area that people should take care of of natural
regeneration and social culture in order to force the rural people to become
self - reliant again.