หอยสังข์ คำกาพย์ : อีกตัวเลือกหนึ่งของหนังสือนอกเวลาเพื่อสืบหาความเป็นตัวตนของคนภาคใต้ (Hoi-sang Kam Gaab: Another Alternative Book of External Reading for the Tracing to Identity of the South Thai People)

Authors

  • สาคร บุญเลิศ SongKhla Rajabhat University

Keywords:

นิทานประโลมโลก, รูปแบบวรรณกรรมชาดกนอกนิบาต, วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้, หอยสังข์คำกาพย์, อัตลักษณ์ของวรรณกรรมท้องถิ่นใต้, Hoi-sang Kam Gaab, traditional literature of the South Thailand, Buddhist Jataka patterns, traditional romance

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เรื่อง “หอยสังข์ คำกาพย์” ในแง่ของการนำเสนอเป็นหนังสืออ่านประกอบหรือหนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาในท้องถิ่น โดยพิจารณาเฉพาะประเด็นหลักๆ ที่เห็นว่าเป็นแก่นสาระสำคัญควร แก่การศึกษา ดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก การนำคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่นิยมใช้แต่งเรื่องราวสำหรับสวดอ่านกันในท้องถิ่นภาค ใต้มานำเสนอเรื่องราวที่ได้ทั้งอรรถและรส ต้องตามความนิยมชมชอบของคนในท้องถิ่น ทั้งยังแสดงความสามารถในการนำเสนอกาพย์ที่ไม่นิยมใช้กันในภาคอื่น เช่น ที่ระบุชื่อว่า “เยสันตา” “ปถมัง” และกาพย์ ๑๒ ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อไว้ มาสอดแทรกเพื่อนำเสนอเหตุการณ์ที่ตั้งใจให้โดดเด่นเป็นพิเศษ ประเด็นที่สอง การใช้กลวิธีในการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจด้วยกระบวนการอันหลากหลาย เช่น การรักษาธรรมเนียมนิยมของวรรณกรรมนิทานประโลมโลกของท้องถิ่นภาคใต้ไว้อย่าง ครบครันทั้งยังประสานสอดคล้องไปกับรูปแบบของวรรณกรรมนิทานชาดกนอกนิบาตการ ปรับเปลี่ยนโครงเรื่องย่อยและเหตุการณ์ในเรื่องให้สมควรแก่เหตุผล การใช้กลวิธีเล่าเรื่องซ้ำแบบย่อเรื่องในมุมมองของตัวละครแต่ละตัวในแต่ละ เหตุการณ์ รวมทั้งศิลปะในการใช้ภาษาอย่างมีวรรณศิลป์ ทั้งในการใช้คำ สำนวน และโวหาร ประเด็นที่สาม การกล่อมเกลาจิตใจผู้สวดอ่านโดยการสอดแทรกคติความเชื่อทางศาสนาผ่านแก่น เรื่อง โครงเรื่อง เหตุการณ์ของเรื่อง ตลอดจนพฤติกรรมและบทสนทนาของตัวละคร ให้ผู้อ่านได้ซึมซับรับทราบและแฝงฝังเข้าไปในจิตวิญญาณโดยไม่รู้สึกตัว ประเด็นที่สี่ การปลูกฝังจริยธรรมที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เช่น จริยธรรมของข้าทาสบริวาร จริยธรรมของนาย และจริยธรรมของหญิงครองเรือน เป็นต้น ประเด็นที่ห้า สะท้อนสภาพสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความเชื่อและค่านิยมของคนไทย โดยเฉพาะคนไทยภาคใต้ในอดีต ประเด็นที่หก สิ่งอันสำแดงถึงความเป็นท้องถิ่นของวรรณกรรมภาคใต้ เช่น ขนบนิยมทางฉันทลักษณ์อันเป็นอัตลักษณ์ของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ สำเนียงถ้อยคำและสำนวนภาษาที่แสดงความเป็นท้องถิ่น วัฒนธรรมในพิธีกรรมสำคัญอันแสดงความเป็นท้องถิ่น และการเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องแบบการแสดงหนังตะลุงมหรสพประจำถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้รู้จักท้องถิ่นของตนให้ลุ่มลึกไปกว่าที่ ตาเห็น เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และเข้าใจสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้อง เกิดมุมมองแง่คิดที่จะเก็บเกี่ยว สืบทอด และปรับใช้ในชีวิตต่อไป

This article focuses the study on Hoi-sang Kam Gaab (Poetry of the Conch Prince) which is a traditional literature in the South of Thailand as an assigned or external reading book for students in the South, emphasizing on the 6 main considerations as follow:

Firstly, the use of gaab which is a kind of lyric and rhyme for reciting, popular in the South is in accordance with the aesthetic tendency of the local people. Apart from the delightful literary and narration, at some highlight, the Hoi-sang Kam Gaab shows the cleverness of the author in the  using of specific kinds of rhyme “yesanta” “pathamang” and “gaab sibsong” which are rarely found in poetry of other regions. Secondly, the narrative proceeds with various characteristics, for example, the harmony blending of Buddhist Jataka patterns and the traditional romance, the artful and logical change of story of the South and sub stories, together with interesting techniques in re-narrating stories in the point of view of characters in different situations. Furthermore, Hoi-sang Kam Gaab  is full of literary value in the use of wordings, rhetoric and metaphors. Thirdly, Hoi-sang Kam Gaab has potential to socialize those who read or recite with religious beliefs and teachings through the theme of the story, events in the story, behavior and dialogues of characters. This unconscious learning will go deep down to the heart and soul of the readers. Fourthly, moral and ethic cultivation is another value of this literature, Hoi-sang Kam Gaab reflects the needs of peaceful co-existence with the ethic of slaves and servants, ethic of the masters, ethic of married woman and etc. Fifthly, Hoi-sang Kam Gaab reflects life, social life, beliefs and values of Thai people especially, South Thais in the past. Sixthly, Hoi-sang Kam Gaab reflects the identity and uniqueness of South Thai literatures, for instance, the format of poetry, accent and tone of voice, cultural rites and story telling with the techniques of local puppet shadow plays and etc.

Hoi-sang Kam Gaab with its six valuable aspects is a great source of knowledge for students to know their motherland beyond what the eyes can see. This is the foundation for   learning and understanding of the interdependence of lives which will widen students’ perspective and enhance their practice in life.

 

Published

2014-11-22

How to Cite

บุญเลิศ ส. (2014). หอยสังข์ คำกาพย์ : อีกตัวเลือกหนึ่งของหนังสือนอกเวลาเพื่อสืบหาความเป็นตัวตนของคนภาคใต้ (Hoi-sang Kam Gaab: Another Alternative Book of External Reading for the Tracing to Identity of the South Thai People). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 2(2), 13–54. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/6