พลวัตการเล่นของเด็กกับภาวะแวดล้อม (The Dynamics of Children's Games and the Environmental Factors)

Authors

  • อาภรณ์ อุกฤษณ์ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

การเล่นของเด็ก, พลวัต, ภาวะแวดล้อม, Children’s game, environment, Dynamics

Abstract

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ในการรวบรวม แยกประเภท การเล่นของเด็กกระบี่ในอดีต และศึกษาถึงปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม ที่มีผลต่อพลวัตของการเล่น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเทคนิควิธีด้านมานุษยวิทยา ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์และเสวนากลุ่มย่อยอย่างไม่เป็นทางการกับกลุ่มเพื่อนร่วมรุ่น รุ่นพี่ รุ่นน้องและญาติมิตร ตลอดจนคำบอกเล่าของชาวบ้าน นักศึกษา ที่อาศัยในต่างอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งข้อมูลจากความทรงจำของผู้วิจัยเอง ผู้วิจัยได้แบ่งประเภทการเล่น ตามลักษณะและวิธีการเล่นเป็นประเภทที่ใช้อุปกรณ์ ประเภทที่ไม่ใช้อุปกรณ์ ประเภทที่มีการขีดเขียนหรือขุดหลุม ประเภทที่มีคำพูดหรือคำร้อง ประเภทที่สัมพันธ์กับเวลา ฤดูกาล หรือสถานที่ ประเภทที่มีการแข่งขัน ประเภทที่ไม่มีการแข่งขัน และประเภทที่มีการพนัน ซึ่งการเล่นแต่ละชนิดอาจจะมีคุณสมบัติตรงกับประเภทต่างๆ มากกว่า 1 ประเภท
ผลการวิจัยพบว่า การเล่นของเด็กกระบี่ที่รวบรวมได้จำนวน 109 ชนิด มีความหลาก หลายแตกต่างกันตามภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม รูปแบบการเล่นมีทั้งที่สืบทอดต่อๆ กันมาจากอดีต ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในชุมชน และที่แพร่กระจายเข้ามาจากภายนอก บางชนิดมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ ส่งผลต่อการเลือกชนิดของการเล่น วัสดุที่ใช้ประกอบการเล่น และการปรับเปลี่ยนการเล่นให้เหมาะกับสถานที่ ภาวะแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การมีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่ยอมรับทางสังคม รู้จักเอื้ออาทรต่อผู้ที่ด้อยกว่า สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเคารพกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย และบรรทัดฐานของสังคม มีความสุภาพ อ่อนน้อม มีน้ำใจนักกีฬา รักความยุติธรรม ภาษาที่สะท้อนจากการเล่น บ่งบอกถึงที่มาจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในกระบี่ ที่สำคัญคือการเล่นของเด็กเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่หลงเหลือจากอดีต เพื่อส่งต่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และสืบทอดต่อไป

  The aim of this research is to present the children's game culture of Krabi
from the past to present. It analyses the environmental factors that impacted
them through qualitative and other anthropological research methods. The field
research involved interviews, informal focus group of friends, relatives, villagers, students from different districts in Krabi as well as from my childhood recollection as a Krabi child. The games collected here have been classified into: games with playing equipment, games with no playing equipment, games with drawn line and hole, song or conversation games, games related to season and place, competitive game, non-competitive games, and gambling games. Each game can have more than one characteristic.

   My findings from 109 children's games indicate the diversity of game
culture due to social and cultural environmental factors. The game-playing
methods were either passed down from the past, newly created at the location or were transmitted in from the outside, then modified to fit the cultural and
environmental factors of the community. The environmental factors, on the other hand, influence the game-playing choices, the game equipment selected for the game, and the adaptation of game to fit the locality as well as to fit its social and cultural environment. The languages used in the games indicate their origins from diverse cultural groups residing in Krabi. Children's games is an important cultural heritage that has been passed on from the past through successive generations to learn and then to pass on to the next generation.


Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

อุกฤษณ์ อ. (2014). พลวัตการเล่นของเด็กกับภาวะแวดล้อม (The Dynamics of Children’s Games and the Environmental Factors). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 4(2), 133–164. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/60