คีตะนาฏการ : การรักษาโรคในภาคใต้ (Ki Ta and Natya: The Treatment Focus in the Southern District)

Authors

  • กลิ่น คงเหมือนเพ Suratthni Rajabhat University

Keywords:

การรักษาโรค, คีตะนาฏการ, Ki Ta and actress (Music and Drama)

Abstract


บทความนี้ศึกษาเรื่อง “คีตะและนาฏการกับการรักษาโรค” มุ่งประเด็นในท้องถิ่นภาคใต้เป็นหลัก ว่าชาวบ้านเหล่านั้นมีความคิดความเชื่ออย่างไร โดยศึกษาข้อมูลจากการเล่นโนราโรงครู โต๊ะครึมหรือลิมนต์ การทรงพระของชาวจีน การเล่นมะตือรีและดารีเดี้ยนของไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า การใช้คีตะและนาฏการคือ ใช้ศิลปะดนตรีขับร้องและการแสดงบำบัดรักษาการเจ็บป่วยที่ชาวบ้านหาสาเหตุมิได้หรือบางครั้งแม้แต่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถวินิจฉัยได้ก็มี พวกเขาจึงเชื่อกันว่าเป็นการกระทำจากมิติเหนือโลก จึงเกิดการอ้อนวอนขอร้องจากสิ่งเหล่านั้น โดยผ่านสื่อต่างๆ ให้ช่วยบำบัดรักษาเพื่อให้กลับมามีสุขภาวะปกติได้
มนุษย์โบราณสมัยยังเป็นชนเผ่าเร่ร่อนก็ใช้วิธีเช่นนี้มาช้านาน โดยผ่านผู้นำหรือหมอผีประจำเผ่าดำเนินการเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ การหยั่งรู้ของมนุษย์ครั้งแรกจะเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่วิธีการนั้นสอดคล้องกับภาวะของธรรมชาติบำบัด สอดคล้องกับความเชื่อว่าตัวตนของมนุษย์ที่แท้จริงประกอบกาย จิตใจ วิญญาณและประสาทสัมผัส และเมื่อใดที่ภาวะการทำงานของส่วนประกอบดังกล่าวไม่สอดคล้องกัน ย่อมมีผลกระทบต่อความสมดุลของชีวิตทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ และมีความเชื่อว่าองค์ประกอบที่เป็นจิตวิญญาณนั้นสำคัญที่สุด ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยง ตอบสนอง ขับเคลื่อนพลังให้มีชีวิตอยู่ได้
พิธีกรรมของชาวบ้าน จึงมุ่งประเด็นบำบัดรักษาโรคทางจิตวิญญาณเป็นหลัก และจะต้องอาศัยศิลปะของภูมิปัญญาในการบำบัดรักษา คีตะและนาฏะเป็นศิลปะที่ใช้ดนตรีร่ายรำขับร้อง อาศัยสื่อเสียงสวดมนต์ คาถา อ้อนวอน เชื้อเชิญผ่านท่วงทำนองบทกวีออกมาเป็น “สื่อเสียง” การแก้ไขโรคในเชิงทางจิตวิญญาณซึ่งเป็นลักษณะ “ความนึกคิด” เป็นพลังงานหรือเป็น “นามธรรม” จึงต้องแก้กับนามธรรมคือ สื่อเสียงดังกล่าว เมื่อจิตนึกคิดที่ดีมวลพลังงานในสมองจะถูกแปรรูปไปในเชิงสุขภาวะ อาการหายหรือไม่หายจึงอยู่ที่จิตปรุงแต่งนั่นเอง
ในเมื่อ “ศิลปะ” คือความพอดี สมดุลลงตัว คีตศิลป์และนาฏศิลป์ที่ชาวบ้านนำมาใช้คือการประกอบโรคศิลป์ ที่ค้นพบระหว่างความสมดุลพอดีของธรรมชาติภายนอกกับธรรมชาติภายในเขาจึงหายป่วยโดยไม่ต้องใช้ยา

     This study. “Ki Ta and Natya: The Treatment Focus in the Southern
District”. Those people have the idea how to beliefs. By learn from playing with Nora Rongkru, Toh Kruam or Limon. The communion with the spirit. In Chiniss ritual, playing Meteri and Daridian Thailand’s Muslim South Meridian ect.

     The study found that the using of Ki Ta and actress. The singing and the
music therapy does not cause of illness that sometimes even modern medicine can not diagnose it. They believed that the action is above dimensions. So, the request from them through various media. Treatment to help them return to normal life.

    Ancient humans were nomadic tribes to also use this method for a long
time. Through tribal leader or medicine man on the crisis. Human intuition is not the first, uncertainly. However, the method is consistent with the natural
environment. Consistent with the belief that the true identity of the human mind,body, soul and senses. And when the condition of the components of such inconsistencies. It has affected the balance of life that cause disease. And it believed that the most important element is the soul. To meet powered landing to live.

    Rituals of the locals. The therapeutic focus is primarily spiritual. And requires knowledge of the art treatment. Ki Ta use of music as an art more dance chorus. Live audio through melodies chanted, poetry that spell out the plea is "audio" in the spirit of the disease, which is characterized by "thought" into energy or "conceptual" abstraction is the need to solve. When thinking of the great mass of energy in the brain to be processed in terms of health. So it lost or not .It is the mind that manipulates it.

   In"art" is a perfectly balanced composers and folk dance that is used by the medicine. That found between the natural balance of nature within his recovered without treatment.

Downloads

Published

2014-11-26

How to Cite

คงเหมือนเพ ก. (2014). คีตะนาฏการ : การรักษาโรคในภาคใต้ (Ki Ta and Natya: The Treatment Focus in the Southern District). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 4(2), 77–103. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/67