เมื่อ สเรเงเง (Srengenge) เป็นเครื่องมือเชิงสัญลักษณ์ ของความเชื่อแบบมลายูดั้งเดิม (Srengenge : A Symbolical Tool of Traditional Malay Beliefs)
Keywords:
วรรณกรรมวิเคราะห์, วรรณกรรมสมัยใหม่มาเลเซีย, สังคมมลายู, Literary analysis, Modern Malaysian literature, Malay societyAbstract
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนวนิยาย Srengenge (สเรเงเง)
ฉบับภาษามลายูของนักเขียนแห่งชาติมาเลเซียที่ชื่อ ชะห์นน อะห์หมัด (Shahnon
Ahmad) แก่สังคมไทย ผ่านการวิเคราะห์มุมมองอันหลากหลายของบรรดานักวิชาการ
กระแสวรรณกรรมมลายูในประเทศมาเลเซียและต่างชาติที่มีต่อตัวบทสเรเงเง ในฐานะ
ที่เป็นนวนิยายสะท้อนสังคมมลายูมาเลเซียที่ผลิตในห้วงที่มาเลเซียกำลังพัฒนาประเทศ
ก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพื่อผู้อ่านจะได้มีข้อมูลที่ฝังแฝงในตัวบทสเรเงเงได้รอบด้าน
มากขึ้น เข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมมลายูมาเลเซียที่มีอิทธิพลต่อผู้แต่ง (Shahnon
Ahmad) ผู้อ่านและนักวิจารณ์ในการสร้างและให้ความหมายกับตัวบท และจะได้เล็งเห็น
ความสำคัญของสเรเงเงที่มีต่อประวัติพัฒนาการวรรณกรรมสมัยใหม่มาเลเซีย ผลจากการ
ศึกษาเรื่องนี้ผู้ศึกษาพบว่า ชะห์นน อะห์หมัด ได้ใช้สเรเงเงเป็นเครื่องมือเชิงสัญลักษณ์
ของความเชื่อแบบมลายูดั้งเดิมในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมมาเลเซีย ว่าการพัฒนาประเทศ
มาเลเซียไปสู่ความเป็นสมัยใหม่จะดีได้นั้น ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาความคิดของคน
ในสังคมก่อน โดยเฉพาะสังคมชนบทให้หลุดพ้นจากความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล
This article attempts to present Srengenge, a novel written in Malay
version by Shahnon Ahmad, a Malaysian literary laureate to Thai society
through various analytical opinions of academics in the Malay literature realm
of Malaysia and abroad in the text. Since Srengenge is an essential Malaysian
novel produced during the time of Malaysia modernization, this study will help
readers to gain more information implied in the text and get a better
understanding of Malaysian societies and culture influencing the author
(Shahnon Ahmad). In addition, this allows the readers and critics to interpret
the text, to recognize the significance of Srengenge effected to the history of
modern Malay literature. The study found that Shahnon used Srengenge as a
symbolical tool of traditional Malay beliefs to criticize the Malaysian society.
From this review, the development of Malaysia into modernity is beneficial.
It must begin with modernizing the Malays’ thought within society, especially
the Malay folks in remote areas, to free themselves from irrational beliefs.