พัฒนาการวาทกรรมอัตลักษณ์มลายูไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรวมเรื่องสั้นแขกในบ้านตัวเอง (The Development of Thai Malay Discourse Identity in the Southern Border Provinces in Short Stories - Muslim in Their Own Home)

Authors

  • กมลทิพย์ กาลพันธ์ โปรมแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Keywords:

พัฒนาการวาทกรรมอัตลักษณ์, มลายูไทย, รวมเรื่องสั้นแขกในบ้านตัวเอง, The Development Identity Discourse, Thai Malayu, Short Stories Muslim in Their Own Home

Abstract

บทความวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการสร้างอัตลักษณ์มลายู
ไทยที่ปรากฏในรวมเรื่องสั้นแขกในบ้านตัวเองตามทฤษฎีของ สจ๊อต ฮอลล์ (Stuart Hall)
ที่กำหนดตัวตนของเราจากความเป็นอื่น ในลักษณะความหมายเป็นคู่ตรงข้าม (opposed
idea) เพื่อเลือกเข้าสังกัด (identity) ในขณะเดียวกัน เราก็ปฏิเสธที่จะเป็นหรือเข้าสังกัด
อื่น ๆ อีก (dis - identifying) ผลการศึกษาพบว่า รวมเรื่องสั้นแขกในบ้านตัวเอง
มีพัฒนาการการสร้างอัตลักษณ์มลายูไทยแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา คือ
1. อัตลักษณ์ช่วงที่ 1 : ป่าดิบเถื่อน “คนนอก” กับ “คนใน”
2. อัตลักษณ์ช่วงที่ 2 : ความเท่าเทียม “คนไทย” กับ “คนแขก”
3. อัตลักษณ์ช่วงที่ 3 : วัตถุนิยม“คนรวย” กับ “คนจน”
4. อัตลักษณ์ช่วงที่ 4 : เรียกหาตัวตน“อคติ” กับ “มีเกียรติ”
ในแต่ละช่วงเวลาที่เกิดการกำหนดสร้างความหมาย การนิยามตัวตนระหว่าง
มลายูไทยกับรัฐไทยมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการช่วงชิงการนำและความเหนือกว่า

แก่สิ่งที่ถูกสร้างและกำหนด อำนาจของการเล่าเรื่องจึงเป็นกระบวนการตอบโต้ ต่อต้าน
ปิดบัง เบียดขับ ปรับเปลี่ยนความหมายการกำหนดสร้างตัวตนไปตามบริบทสังคม
ซึ่งส่งผลต่อความรุนแรงและความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน

The objective of this article is to study the development of Thai Malay
discourse identity in the short stories book “Muslim in Their Own Home.”
The theory used here is Stuart Hall’s theory on the subjectification of self
through the other, in terms of the opposed idea, to identifying the self and
dis - identifying the other. The study finds that the development of Thai Malay
discourse identity in the text can be divided into 4 era:
1. Identity Era 1 : the savage jungle “inside / outside people”,
2. Identity Era 2 : the honor of equality “Thai” / “Malay”,
3. Identity Era 3 : the materialistic “rich” / “poor”, and
4. Identity Era 4 : the Muslim Malay self “prejudice” / ”honor”.
In each area of the development of discourse identity, there exists
a hierarchical power relationship between the Thai Malay and Thai state,
a power to possess and define the constructed object. Hence, a narrative is
one of the strategies to refute, resist, obscure, expulse, and change the
discourse of identifying of self, in relation to the violence and conflict in the
present Thai social context.

Downloads

Published

2017-08-15

How to Cite

กาลพันธ์ ก. (2017). พัฒนาการวาทกรรมอัตลักษณ์มลายูไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรวมเรื่องสั้นแขกในบ้านตัวเอง (The Development of Thai Malay Discourse Identity in the Southern Border Provinces in Short Stories - Muslim in Their Own Home). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(2), 105. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/675