ภาพเชิงบวกและภาพเชิงลบของขุนแผน : ค่านิยมกับความสมจริง กรณีศึกษาเสภาเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” สำนวนรัชกาลที่ 2 (Positive and Negative Images of KhunPhaen : Value and Reality in a Case Study of KhunChang KhunPhaen (Thai Verse in King Rama II Version)

Authors

  • วรรณธิรา วิระวรรณ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

ภาพเชิงบวก, ภาพเชิงลบ, ขุนช้างขุนแผน, ค่านิยม, ความสมจริง, Positive images, Negative images, KhunChang KhunPhaen, Value, Reality

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาภาพเชิงบวกและภาพเชิงลบของขุนแผน : ค่านิยม
กับความสมจริง กรณีศึกษาเสภาเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” สำนวนรัชกาลที่ 2 ตอนพลายแก้ว
เป็นชู้กับนางพิม ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างได้นางแก้วกิริยา และขุนแผนพานางวันทองหนี
ผลการศึกษาพบภาพเชิงบวกของขุนแผน 2 ภาพ ได้แก่ นักรบและนักรัก และภาพเชิงลบ
ของขุนแผน 4 ภาพ คือ ภาพของชายผู้ผิดศีล ภาพของชายผู้จองเวรและโหดร้าย
ภาพของชายผู้ไร้ความรับผิดชอบ และภาพของชายผู้มีวิสัยพาล ทั้งนี้ เมื่อนำภาพเชิงบวก
และภาพเชิงลบมาวิเคราะห์ค่านิยมและความสมจริงแล้ว พบว่า ภาพเชิงบวกของขุนแผน
คือ ภาพนักรบและนักรัก สร้างขึ้นเพื่อนำเสนอค่านิยมเกี่ยวกับผู้ชายไทยในสมัย
ต้นรัตนโกสินทร์ 3 ลักษณะ คือ ค่านิยมการยอมรับระยะห่างทางอำนาจสูงของไทย
แบบชนชั้น ค่านิยมการยอมรับระยะห่างทางอำนาจสูงของไทยแบบชายเป็นใหญ่
และค่านิยมการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ส่วนภาพเชิงลบของขุนแผน กวีสร้างขึ้นเพื่อทำให้

ตัวละครมีบุคลิกที่หลากหลาย นั่นคือ ภาพของชายผู้ผิดศีล และภาพของชายผู้ไร้
ความรับผิดชอบ สะท้อนภาพมนุษย์ที่ถูกกิเลสแห่งความรัก และความต้องการทางเพศเข้า
ครอบงำ จนชักนำให้ประพฤติผิดศีลธรรม ส่วนภาพของชายผู้จองเวรและโหดร้าย
และภาพของชายผู้มีวิสัยพาล สะท้อนภาพมนุษย์ที่โกรธแค้น จนคิดที่จะทำลายผู้อื่น
ทั้งวาจาและการกระทำ ภาพเชิงลบจึงช่วยสร้างความสมจริงให้ขุนแผนเหมือนมนุษย์ผู้หนึ่ง
ก่อให้เกิดความสมจริงในวรรณคดี

This article aims to study positive and negative images of KhunPhaen:
value and reality in a case study of KhunChang KhunPhaen (Thai verse in King
Rama II version) in three chapters, namely, PlaiKaew commits adultery with
Nang Pim, KhunPhaen ascends Khun Chang’s home and sleeps with KaewKiriya,
and KhunPhaen runs away with Wanthong. The result shows two positive
images of KhunPhaen, namely, warrior and lover, and four negative images of
KhunPhaen, namely, a man who is against morality, a man who is retributive
and fierce, a man who is irresponsible, and a man who is wicked. An analysis
of KhunPhaen’s positive and negative images about value and reality shows
KhunPhaen’ s positive images, which are the warrior and the lover, are created
to present the value about Thai men in Early Ratanakosin Era in three ways,
namely, the value of accepting Thai’s power distance of social class, the value
of accepting Thai’s power distance of patriarchy, and the value of being grateful
to benefactors. As for KhunPhaen’s negative images, the poet creates them to
make the character consists of various personalities. That is, the image of
immoral man and irresponsible man reflects the image of human who 

behaves immorally because of getting obsessed with love and sexual desires.
The image of revengeful and cruel man and the image of bad man reflect the
image of human who is angry and wants to destroy others by verbal and
action. Therefore, the negative image helps to make KhunPhaen look more
realistic like real human, which brings about the reality into the literature.

Downloads

Published

2017-08-15

How to Cite

วิระวรรณ ว. (2017). ภาพเชิงบวกและภาพเชิงลบของขุนแผน : ค่านิยมกับความสมจริง กรณีศึกษาเสภาเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” สำนวนรัชกาลที่ 2 (Positive and Negative Images of KhunPhaen : Value and Reality in a Case Study of KhunChang KhunPhaen (Thai Verse in King Rama II Version). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(2), 131. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/676