การพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Development of Learning Organization Strategies)
Keywords:
พัฒนายุทธศาสตร์, องค์กรแห่งการเรียนรู้, นวัตกรรมทางความคิด, ทุนทางปัญญาของสังคม, Strategic development, Learning Innovation, Intellectual, Society’s intellectual fundAbstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรแห่งการเรียนรู้
ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้บริหาร และบุคลากรขององค์กรนำไปประยุกต์ใช้เป็นกลไก
ขับเคลื่อน และกำหนดเป็นทิศทางการยกระดับการเรียนรู้ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ
สู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 การศึกษาได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น
มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ วิธีการศึกษาขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และอภิปรายผล
ความแตกต่างด้านองค์ประกอบ ปัจจัยการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ภายใต้สภาพการณ์
การบริหารจัดการปัจจุบันต่อความคาดหวังการปรับตัวในอนาคต และขั้นตอนที่ 2
ศึกษาวิเคราะห์ เพื่อเติมเต็มทางความคิด ด้วยกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์การเป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้
ผลการศึกษาวิจัยได้ให้ความสำคัญกับความจำเป็นในการพัฒนากระบวนทัศน์
การพัฒนายุทธศาสตร์ที่สามารถทำให้เกิดมุมมองการปรับตัว ภายใต้สภาพการณ์
การบริหารจัดการขององค์กร และพลวัตระบบแวดล้อมสังคม เพื่อพัฒนาเป็นทุน
ทางปัญญาการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ขององค์กร และร่วมผลักดันการส่งเสริมการ
พัฒนาสังคมในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับสากล ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์
ศาสตร์และศิลป์การเรียนรู้ 2) ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการเรียนรู้
This research aims to study the development of learning organization
strategies of higher education institutions for application of organization’s
executives and personnel as the mechanism for driving and direction for
improving organization’s learning efficiency in order to become the higher
education institutions of the 21st century. The sample group of this research
was Rattanakosin Rajabhat University Group. The research methodology was
divided into: Stage 1 – analysis and discussion on differences of elements,
factors of learning organization under current management situation towards
expectation on future adjustment; Stage 2 – study and analysis for improving
thinking through development process of learning organization strategies.
The results of the study on the development of strategic alternatives
emphasized on necessity in developing paradigm leading to adjustment under
the organization’s management situation and dynamics of social and
environmental systems in order to be developed as the intellectual fund for
creating organization’s learning innovation. In addition, these strategies also
helped to drive and promote social development in local, national, and
international levels. These strategies were consisted of: 1) High - tech &
Hi - touch Learning Organization; 2) Learning Innovation.