การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนนานาชาติ (The Development of Servant Leadership for International School Administrators)
Keywords:
ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, การพัฒนาภาวะผู้นำ, โรงเรียนนานาชาติ, Servant leadership, Developmental of leadership, International SchoolAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
มีเจตคติที่ดีต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการและมีคุณลักษณะภาวะผู้นำใฝ่บริการ ทำให้เกิด
การพัฒนาตนเองจากภายใน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการในโรงเรียน
และในชีวิตประจำวันโดยมีกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษา
คุณลักษณะภาวะผู้นำ ใฝ่บริการที่เหมาะสมสำ หรับผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ
2) ออกแบบและสร้างแผนฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ 3) ทดลองใช้แผน
ฝึกอบรม 4) ติดตามประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขแผนฝึกอบรมการพัฒนาภาวะผู้นำ
ใฝ่บริการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะภาวะผู้นำใฝ่บริการที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหาร
โรงเรียนนานาชาติจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบทของโรงเรียน
นานาชาติในประเทศไทยผู้วิจัยสังเคราะห์ได้ 6 องค์ประกอบ คือ 1) การทำงานเป็นทีม
2) การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน 3) การสร้างมโนทัศน์และมองภาพรวม 4) การมีพฤติกรรม
ที่ประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรม 5) การดูแลเอาใจใส่เพื่อนร่วมงานด้วยความรัก
6) การมุ่งพัฒนาให้เพื่อนร่วมงานเจริญงอกงาม แล้วนำมาสังเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content
Analysis) ได้ 18 องค์ประกอบย่อย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน
การออกแบบและสร้างแผนฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการสำหรับผู้บริหาร
โรงเรียนนานาชาติ แผนฝึกอบรมประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์
3) โครงสร้าง 4) กำหนดการ 5) กิจกรรม 6) สื่อ / วิธีการดำเนินการ 7) ขั้นตอน
8) วิทยากร 9) การวัดและประเมินผล ตรวจสอบโครงร่างแผนฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ
จำนวน 9 คน ประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสม พบว่า มีความสอดคล้อง
ทุกประเด็นและผลประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบด้าน
วัตถุประสงค์ของแผนฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้ พบว่า ค่าเฉลี่ย
ของคะแนนแบบทดสอบความรู้หลังการทดลองใช้สูงกว่าก่อนทดลองใช้ ผลค่าเฉลี่ยของ
เจตคติต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า หลังทดลองใช้มีระดับค่าเฉลี่ย
ทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลองใช้ และค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะภาวะผู้นำ
ใฝ่บริการที่ประเมินผลจากผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า หลังการ
ทดลองใช้มีระดับค่าเฉลี่ยทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนทดลอง ผลการติดตาม
ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขแผนฝึกอบรม ผู้วิจัยประเมินประสิทธิภาพของแผนฝึกอบรม
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม โดยนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้แผน
ฝึกอบรมที่สมบูรณ์เพื่อนำไปใช้เป็นแผนฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการสำหรับ
ผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติต่อไป
This mixed methods study aimed at developing a training plan on
servant leadership for Thai international school administrators to gain knowledge,
understanding and attitude towards servant leadership and servant leadership
characteristics. This inner self - development and knowledge would be applied to
school and daily life management. The 4 phases of the development
procedure were as the following. 1) Exploring suitable servant leadership
characteristics for Thai international school administrators. 2) Designing and
building development training plan. 3) Examining the training plan. 4) Evaluating
and improving the servant leadership training plan for Thai international school administrators.
The research findings revealed that in exploring suitable servant leadership
characteristics for Thai international school administrators by reviewing related
theories and research papers according to the Thai international school context,
the synthesized 6 components were found: 1) team working, 2) community
building, 3) conceptualizing and foresight, 4) moral & ethical behavior, 5) building
a good relationship among colleagues, and 6) commitment to the growth of
people. Synthesis from in - depth interview with nine experts yielded 18
subs - components. Designing and building training plan were set. The training
plan outline consisted of 1) training plan principle and logic, 2) objectives,
3) structure, 4) schedule, 5) activities, 6) media and methods, 7) steps, 8) trainers,
and 9) measurement and evaluation. Nine experts’ evaluated congruency and
suitability of the training plan was high, with the highest level on objective
component. In examining the training plan after applying the training plan on
Thai international school administrators, it was found that the mean of the
knowledge measurement after the training was higher than before that of pre
- training. The means of the trainees’ attitude and its sub - components were
higher after the training. The means of the subordinates of the trainees on
servant leadership characteristics as a whole and its sub - components were
higher after the training. In valuating and improving the servant leadership
training plan, the researcher assessed the training plan efficiency after the
training on training plan structure and detailed sub - components for correctness
and appropriateness in order to use it for the future servant leadership training
in international schools.