รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ (The Efficient Management Model of Childhood Development Centers In the South)

Authors

  • ประเสริฐ พืชผล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • นิคม จารุมณี สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

รูปแบบการบริหารจัดการ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, Management Model, Childhood Development Center

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อนำมาสร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และทำการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ โดยมีวิธีดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1
ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ (Exploratory
Factor Analysis: EFA) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กขององค์การ
บริหารส่วนตำบลในภาคใต้ จำนวน 308 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการ 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ โดยนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบมาสร้างรูปแบบ
หลังจากนั้นจึงนำรูปแบบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความเหมาะสมโดยการสนทนากลุ่ม
(Focus Group Discussion) เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและทำการปรับปรุง
รูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ
องค์การบริหารส่วนตำบลและประเมินความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กในภาคใต้ มี 6 องค์ประกอบ จำนวน 68 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การบริหาร
ทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 2 โครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย สายงานบังคับบัญชา มีจำนวน
4 ตัวบ่งชี้ การบริหารอาคารสถานที่ มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และระบบงานธุรการการบริหาร
งบประมาณ มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 คุณภาพของผู้เรียน ประกอบด้วย
การพัฒนาเหมาะสมกับวัย มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาทางสังคม มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
การพัฒนาการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และภาวะทางอารมณ์ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย คณะทำงานร่วมกับสถาน
ศึกษา มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และร่วมการพัฒนาการศึกษา มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบ
ที่ 5 การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางการเรียน
มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ การบริหารหลักสูตรและพัฒนาระบบประเมินผล มีจำนวน 8 ตัวบ่งชี้
และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 6
คุณลักษณะและภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ส่วนการประเมินรูปแบบปรากฏว่าผลการดำเนินงานตามรูปแบบ
การบริหารจัดการทำให้การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

The purposes of the research were to study the management of
childhood development centers, create efficiency models and evaluate the
efficiency management models of childhood development centers in the South
of Thailand by using three implementations. Firstly, the management of
childhood development centers, their concepts, theories, and related research
were studied. Exploratory Factor Analysis: EFA was used to analyze the
element management. The data of 308 leaders of childhood development
centers from the sub - district administrative organizations in the South were
collected. Secondly, the models of the centers were created by using the
results of the element analysis. Then focus group discussion was conducted by
13 professionals to confirm the feasibility in practice and adjustment.Finally, the
efficient management models of childhood development centers in the south in
the sub-district administrative organizations were evaluated. Both the appropriate
evaluation and the usefulness of the models were estimated.
The results showed 6 components and 68 indicators of the efficiency
management models of childhood development centers in the South. The first
component was human resource management consisting of seven indicators of
teachers and educational personnel. The second component was a command
hierarchy with a total of four indicators, five indicators of administrative buildings,
and six indicators of administrative systems and budget management. The
third element was quality of learners consisting of five indicators of age -
appropriate development, four indicators of social development, four indicators
of learner development and four indicators of emotional status. The fourth
component was networking cooperation consisting of three indicators of boards
of education working with schools and seven indicators of co - working 

educational development. The fifth component was curriculum administration
and academic tasks consisting of three indicators of learning environment,
eight indicators of curriculum administration and evaluation system development
as well as four indicators of information technology for learning. Finally, the
sixth component was characteristics and leadership of administrators consisting
of four indicators of local administrative leaders. The results of performance -
based management model also increased efficiency of the administration of
childhood development centers.

Downloads

Published

2017-08-15

How to Cite

พืชผล ป., จารุมณี น., & วาณิชย์ศุภวงศ์ ผ. (2017). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ (The Efficient Management Model of Childhood Development Centers In the South). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (Journal of Humanities and Social Sciences, SRU), 9(2), 319. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/683